#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ บทความวิชาการของ ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ เรื่องการเพิ่มขีดความสามารถมนุษย์ การผสมผสานมนุษย์กับเครื่องจักรภายใต้แผนงานวิจัยคนไทย 4.0 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ชี้ให้เห็นว่า ประเด็นปัญหาที่จะพบในเรื่องดังกล่าวคือ การที่ความสามารถในการเสริมสมรรถนะย่อมทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น
➼ ความเหลื่อมล้ำที่เกิดจะมาจากผู้ที่มีฐานะจะสามารถที่จะส่งเสริมให้ตนเองและบุตรหลานมีสถานภาพทางปัญญาสูงกว่าผู้ที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี ซึ่งคนเหล่านี้มักเป็นกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อย ซึ่งวงจรดังกล่าวจะยิ่งตอกย้ำทำให้ความเหลื่อมล้ำสูงขึ้นตั้งแต่ก่อนถือกำเนิด
➼ อย่างไรก็ดี การที่เราไม่ปล่อยให้การเพิ่มขีดความสามารถเป็นไปได้อย่างเสรีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำภายในประเทศ เราก็อาจสูญเสียความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ซึ่งจะทำให้เกิดคำถามในประเด็นว่า เราควรจะยอมให้มีการเพิ่มสมรรถนะได้หรือไม่ หรือได้ถึงขนาดไหน
➼ ยังมีปัญหาด้านจริยธรรมของการเชื่อมต่อสมองกับคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือความยินยอมเป็นจะเป็นการละเมิดส่วนตัว เพราะข้อมูลในความทรงจำอาจถูกล่วงรู้โดยสมองกลและถ่ายทอดออกมาโดยชิพที่ฝังไว้ หรืออาจทำให้บุคคลนั้นถูกควบคุมจากภายนอก
➼ ทั้งนี้ใน ศ.ดร.โสรัจจ์ ได้เสนอฉากทัศน์ในปี 2600 ของคนไทยในแง่มุมของเทคโนโยลี 2 รูปแบบ คือ (1) คนไทยแต่ละคนจะมีหุ่นยนต์ประจำตัว ซึ่งเหมือนคนรับใช้และทำหน้าที่เหมือนโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน แต่มีความสามารถมากกว่า (2) ฉากทัศน์ด้วยโลกสองใบคู่ขนานกันไป คือโลกกายภาพในปัจจุบัน และ โลกที่ปรากฏในเมตาเวิร์ส
➼ การเตรียมตัวคนไทยให้อนาคตให้รับมือกับโลกเสมือนคือ การให้คนไทยมีความคิดเชิงวิเคราะห์ คิดแยกแยะเหตุผล ตลอดจนเกิดการเชื่อมโยงและบูรณาการ จนกระทั่งคิดคาดการณ์ผลที่อาจขึ้นได้. แต่สิ่งที่น่ากังวลประการหนึ่งคือ จะมีคนกลุ่มหนึ่งซึ่งเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีและกลายเป็นชนชั้นไร้ประโยชน์
อ้างอิง: "Useless Class ?" มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น