#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ ข้อมูลกระทรวงมหาดไทย เผยว่าปี 2012 สัดส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวน 13% ของจำนวนประชากรรวม และเพิ่มขึ้นเป็น 21% ในปี 2021 จึงปฏิเสธไม่ได้ถึงแนวโน้มที่จำนวนประชากรสูงอายุของประเทศไทยจะมีถึง 20% ในระยะเวลาไม่ช้านี้
➼ ปัจจุบันโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุมีการกระจายตัวในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ อยุธยา ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต. โดยมีโมเดลธุรกิจ เช่น วิลล่า บ้านเดี่ยว และคอนโดมิเนียม mixed-use ที่ประกอบด้วยคอนโดมิเนียม โรงแรม และโรงพยาบาล
➼ ค่าใช้จ่ายในโครงการเหล่านี้ นอกจากจะมีค่าที่อยู่อาศัยที่ต้องจ่ายเป็นเงินก้อนหรือผ่อนชำระตั้งแต่หลักแสนบาทไปจนถึงหลักหลายล้านบาท ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่าผู้ดูแล ค่ารักษาพยาบาล ค่าส่วนกลาง เป็นต้น ซึ่งกล่าวได้ว่ากลุ่มเป้าหมายหลักจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีกำลังซื้อ
➼ หากพิจารณาตลาดผู้สูงอายุที่มีกำลังซื้อในไทย พบว่าตลาดยังมีขนาดเล็ก โดยจากผลสำรวจประชากรผู้สูงอายุในปี 2017 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า สัดส่วนผู้สูงอายุที่มีรายได้มากกว่า 300,000 บาทต่อปี อยู่ที่ราว 4% ของจำนวนประชากรผู้สูงอายุ
➼ EIC มองว่า นอกจากขนาดตลาดผู้สูงอายุที่มีกำลังซื้อยังจำกัด ประกอบกับทางเลือกที่หลากหลาย เช่น การออกแบบบ้านซึ่งครอบครัวอยู่ร่วมกับผู้สูงอายุได้ และศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ทำให้โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุเป็นความท้าทายสำหรับผู้ประกอบการ
➼ ทั้งนี้ การนำเสนอรูปแบบที่อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอยู่อาศัย รวมถึงมีสิ่งอำนวยความสะดวก และบริการเสริมต่างๆ ยังเป็นจุดขายที่สำคัญของโครงการผู้สูงอายุ โดยการนำเสนอทางเลือกในการถือครองกรรมสิทธิ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น การเป็นเจ้าของ สิทธิ์อยู่อาศัยระยะยาว จะช่วยตอบโจทย์ให้สามารถเลือกโครงการได้สอดคล้องกับความต้องการและข้อจำกัดของตนเองได้อย่างดี
อ้างอิง: "ส่องเทรนด์สังคมสูงวัย…โอกาสและความท้าทายสำหรับโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ" กัญญารัตน์ กาญจนวิสุทธิ์, SCB EIC
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น