#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นปัญหาที่ยากและซับซ้อน มีลักษณะที่เป็นปัญหาเชิงปัจเจกชน และ ปัญหาเชิงโครงสร้าง. โดยด้านปัจเจกชนนั้น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสามารถเกิดขึ้นได้จากการเลือกของปัจเจกชน เช่น คนสองคนมีพื้นฐานชีวิตที่เท่ากันแต่มีความชอบและเลือกอาชีพต่างกัน ทำให้มีรายได้และฐานะต่างกัน
➼ ทั้งนี้ ความเหลื่อมล้ำจะกลายเป็นปัญหาเมื่อโอกาสและพื้นฐานของปัจเจกบุคคลไม่เท่ากัน เช่น เด็กที่เกิดในเมืองหลวงย่อมมีโอกาสมากกว่าเด็กที่เกิดและโตในจังหวัดเล็กๆ ที่ขาดโอกาสและโครงสร้างพื้นฐาน
➼ ในมิติของรายได้ รายได้เฉลี่ยของประชากรไทยที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำสุด 10% และกลุ่มสูงสุด 10% มีความห่างกันถึง 16 เท่า. ในแง่ของการถือครองทรัพย์สิน กลุ่มรายได้สูงสุด 10% มีส่วนแบ่งการถือสินทรัพย์สูงถึงเกือบ 1 ใน 3 ของทรัพย์สินทั่วประเทศ
➼ มิติความมั่งคั่ง โดยพิจารณจากการถือครองที่ดินพบว่า ผู้ถือครองที่ดินกลุ่ม 10% บน มีการถือครองที่ดินถึงร้อยละ 61 ของที่ดินทั้งหมด. ในแง่มิติการศึกษา ถึงแม้การเข้าถึงการศึกษาของประเทศทั่วถึงดีขึ้น แต่ครอบครัวที่มีฐานะดีมีโอกาสเรียนต่อในระดับปริญญาตรีสูงกกว่าครอบครัวที่ฐานะยากจนเท่ากับร้อยละ 65.5 และร้อยละ 7.7 ตามลำดับ
➼ มิติสุขภาพ ประเทศไทยสามารถจัดระบบหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุมให้แก่ประชาชนถึงร้อยละ 99.2 มีสวัสดิการการรักษาพยาบาล อย่างไรก็ดี บุคลากรและเครื่องมือทางการแพทย์ยังกระจุกตัวในกรุงเทพและเมืองใหญ่ โดยบุคลากรทางการแพทย์ในภาคอีสานมีการดูแลประชากรต่อคนมากกว่ากรุงเทพถึง 4-5 เท่า
➼ ทั้งนี้ ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยถือเป็นโจทย์สำคัญในเชิงนโยบายที่ต้องการความเอาใจใส่และความมุ่งมั่นทางการเมืองจากผู้นำรัฐบาลทั้งในปัจจุบันและอนาคตเป็นอย่างสูง เพื่อบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมให้น้อยลง
อ้างอิง: "ภูมิทัศน์ความเหลื่อมล้ำในไทย" ธราธร รัตนนฤมิตศร, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น