#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ ค่าจ้างของแรงงานภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 4 ระบบใหญ่ ได้แก่ (1) ระบบค่าจ้างขั้นต่ำของลูกจ้างในสถานประกอบการ กำหนดโดยคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัด - โดยเป็นคณะกรรมการไตรภาคีและประกาศบังคับใช้กฎหมายโดยกระทรวงแรงงาน
➼ ในอดีตระบบค่าจ้างขั้นต่ำจะถูกกำหนดโดยคณะกรรมการเป็นอัตราเดียวทั่วประเทศ และต่อมาจึงมีการปรับเปลี่ยนระบบการกำหนดใหม่โดยให้มีอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำประจำจังหวัดแทน
➼ (2) ระบบค่าจ้างเงินเดือนในสถานประกอบการ - เป็นค่าจ้างที่นายจ้างกำหนดให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนตามผลงานในรอบระยะที่ผ่านมา โดยปัญหาคือ 1.กิจการหลายแห่งไม่ได้กำหนดโครงสร้างค่าจ้างที่ชัดเจน และ 2.ไม่มีความแตกต่างระหว่างค่าจ้างขั้นต่ำกับอัตราค่าจ้างประจำปีในสถานประกอบการ
➼ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ คือ เป็นค่าจ้างของแรงงานไร้ฝีมือในระยะแรกของการทำงาน เพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว (ลูกจ้าง+ภรรยา+บุตร 2 คน) ไม่ใช่ค่าจ้างของลูกจ้างที่ทำงานมาหลายปีและมีทักษะ
➼ (3) ระบบค่าจ้างรายชิ้น - จ่ายให้ตามจำนวนชิ้นงานโดยไม่คำนึงถึงเวลาที่ใช้ในการผลิต ใช้กับแรงงานนอกระบบในกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน ซึ่งปัญหาหนึ่งที่พบคือ ค่าจ้างเฉลี่ยเมื่อคำนวณตามชั่วโมงการทำงานแล้วพบว่าต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายแรงงาน
➼ (4) ระบบค่าจ้างของแรงงานนอกระบบ - มักยึดการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเป็นพื้นฐาน โดยไม่ใช่ค่าจ้างที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ทำให้แรงงานนอกระบบมีสภาพการจ้างที่ไม่เป็นทางการ ไม่เป็นธรรม ขาดความมั่นคงในงาน รวมถึงไม่ได้สิทธิจากประกันสังคม
อ้างอิง: "สนับสนุนค่าแรงขั้นต่ำ 380-400 บาท" อนุสรณ์ ธรรมใจ, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น