#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ "มรดก" ในทางกฎหมาย คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายที่มีอยู่ก่อนถึงแก่ความตาย รวมถึงสิทธิในอสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ หน้าที่ในการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ รวมกันเรียกว่า "กองมรดกของผู้ตาย"
➼ หากเสียชีวิต หนี้สินของผู้ตายถือเป็นมรดกด้วยและถือเป็นหน้าที่ของทายาทในการชำระหนี้ เพียงแต่ทายาทไม่ต้องรับผิดชอบชำระหนี้สินเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ทายาทได้รับ
➼ ในทางกฎหมายมีการจัดลำดับทายาทที่มีสิทธิรับมรดก เป็น 2 ประเภท คือ (1) ทายาทโดยพินัยกรรม ซึ่งคือทายาทที่มีสิทธิรับมรดกตามที่ผู้ตายกำหนดไว้ในพินัยกรรม ซึ่งอาจเป็นลูกหลานหรือญาติหรืออาจเป็นคนอื่นก็ได้ และ
➼ (2) ทายาทโดยธรรม ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่ได้มีการทำพินัยกรรมไว้ โดยจะแบ่งทายาทเป็นลำดับในการมีสิทธิรับมรดกก่อนหลัง ดังนี้ 1) ผู้สืบสันดาน (รวมถึงคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่) 2) บิดามารดา 3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4) พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน 5) ปู่ ย่า ตา ยาย 6) ลุง ป้า น้า อา
➼ ทั้งนี้ การทำพินัยกรรมอาจจัดแบบ (1) เขียนเองทั้งฉบับ คือ เขียนด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับ ลงวันเดือนปี และต้องลงลายมือชื่อผู้ทำด้วย จะมีพยานหรือไม่มีก็ได้ หรือ (2) พินัยกรรมแบบธรรมดาเป็นพินัยกรรมที่สามารถพิมพ์ขึ้นมาได้ ผู้ทำต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานที่ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกอย่างน้อย 2 คนและพยานต้องลงลายมือชื่อรับรอง
➼ ในการจัดการมรดกนั้น พินัยกรรมถือว่ามีความสำคัญต่อการวางแผนอย่างมาก เพราะพินัยกรรมสามารถกำหนดผู้จะได้รับทรัพย์มรดกได้อย่างชัดเจน และกำหนดผู้จัดการมรดกในพินัยกรรมได้
อ้างอิง: "ความสำคัญในการวางแผนมรดกและการทำพินัยกรรม" ดร.สาธิต ผ่องธัญญา, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น