#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ วิกฤตอาหาร หรือความไม่พอเพียงของอาหารเทียบกับความต้องการบริโภคถือเป็นความท้าทายของเศรษฐกิจโลกมาโดยตลอดแม้เทคโนโลยีด้านการเกษตรและการผลิตอาหารจะดีขึ้นมาก ซึ่งส่วนหนึ่งของความไม่พอเพียงเป็นผลจากความแปรปรวนของธรรมชาติ
➼ ในปีที่ผ่านมามีการประมาณการว่า ประชากรโลกเกือบ 200 ล้านคนขาดอาหาร เป็นผลจากภาวะโลกร้อนที่กระทบการผลิตอาหาร เช่น คลื่นความร้อนในอินเดียและอากาศแห้งในบราซิล สหรัฐ แคนาดา ซึ่งประเทศเหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลก
➼ วิกฤตโควิดยังมีส่วนที่ทำให้อาหารขาดแคลนมากขึ้นเพราะเกิดการดิสรัปชั่นในการขนส่งอาหาร ทำให้อาหารที่ผลิตขนส่งไม่ได้ รวมถึงต้นทุนการผลิตที่สูงจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น. ในอีกมิติหนึ่ง รายได้ของประชานนที่ลดลงจากผลของวิกฤตก็ทำให้ปัญหาการเข้าถึงอาหารหนักเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย
➼ สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนกระทบกับสถานการณ์การขาดแคลนอาหารใน 3 ทาง คือ (1) สงครามทำให้การผลิตสินค้าเกษตรโลกชะงักงัน เพราะทั้งสองประเทศเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลก โดยส่งออกข้าวสาลีรวมกัน 30% ของการส่งออกข้าวสาลีทั้งหมดในโลก และข้าวโพดร้อยละ 20%
➼ (2) สงครามกระทบการผลิตปุ๋ยซึ่งรัสเซียเป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ของโลก เพราะการผลิตก๊าซธรรมชาติและแร่โปแตชที่ใช้มากในอุตสาหกรรมปุ๋ยถูกกระทบ และ (3) สงคราม มาตรการคว่ำบาตร การปิดล้อมเมืองท่า ทำให้การเคลื่อนย้ายและส่งออกสินค้าและอาหารที่ผลิตได้ ทำได้ลำบากเพิ่มขึ้น
➼ ความและไม่แน่นอนของสถานการณ์สงคราม และการใช้นโยบายกีดกันทางการค้ามีอาจแพร่หลาย จะทำให้ภาวะขาดแคลนอาหารมีแนวโน้มยืดเยื้อ และรุนแรงขึ้น. สำหรับประเทศไทยควรใช้โอกาสที่ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นสร้างแรงจูงใจให้การผลิตในภาคการเกษตรขยายตัวแบบก้าวกระโดด สร้างแรงจูงใจผ่านระบบตลาดให้แรงงานที่ว่างงานและเงินทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่ดีกลับเข้าสู่ภาคเกษตร
อ้างอิง: "อย่าประมาทวิกฤตอาหารโลกและควรเตรียมรับมือ" บัณฑิต นิจถาวร, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น