#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
.
➼ ข้อเสนอของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อยมักถูกหยิบขึ้นมาพูดถึงด้วยเหตุผลว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนอกจากจะช่วยลดช่องว่างด้านรายได้แล้ว ยังเป็นการกระตุ้นกำลังซื้อของระบบเศรษฐกิจโดยรวม
➼ แนวคิดการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแบบ Rehn-Meidner (RM) ซึ่งตั้งชื่อตามนักเศรษฐศาสตร์ชาวสวีเดนที่ร่วมกันพัฒนาแนวความคิด ที่เสนอว่าเศรษฐกิจจะได้ประโยชน์จากค่าแรงขั้นต่ำมากน้อยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 อย่างด้วยกัน
➼ (1) นโยบายค่าแรงเท่าเทียม - หมายถึงแรงงานที่ทำงานประเภทเดียวกันควรได้รับค่าจ้างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าบริษัทจะมีกำไรมากหรือน้อย แต่ค่าแรงสำหรับแต่ละกลุ่มที่มีลักษณะแตกต่างกัน มีสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน สามารถแตกต่างกันได้
➼ บริษัทหรืออุตสาหกรรมที่มีกำไรน้อยจะถูกกำจัดออกไปจากระบบเศรษฐกิจทรัพยากร - ซึ่งจะถูกโอนย้ายไปยังภาคเศรษฐกิจที่มีกำไรมากกว่า ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยลดปัญหาความแตกต่างด้านค่าแรง
➼ (2) การสร้างกลไกในการช่วยให้แรงงานสามารถย้ายที่ทำงานได้อย่างราบรื่น - ด้วยการฝึกอบรมทักษะที่จำเป็นต่อการหางาน รวมถึงการให้ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อการหางานทำเพื่อช่วยให้แรงงานสามารถหางานในภาคเศรษฐกิจอื่นได้
➼ (3) การให้เงินช่วยเหลือกับบริษัทที่ได้รับผลกระทบ - เพื่อลดต้นทุนจากการจ้างงาน ซึ่งนอกจากจะเกิดการเพิ่มค่าแรงแล้ว ยังอาจเกิดขึ้นจากการที่บริษัทต้องลงทุนในการฝึกอบรมแรงงานให้ทำงานได้ตามคาดหวังของบริษัท
➼ ในบริบทของประเทศไทย การยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานด้วยการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพถือเป็นเรื่องจำเป็น แต่ต้องคิดคู่ไปด้วยคือ แนวทางในการขึ้นค่าแรงที่จะช่วยให้แรงงานและเศรษฐกิจไทยก้าวไปข้างหน้าด้วยกันในระยะยาว ภายใต้บริบททางเศรษฐกิจที่กำลังพลิกโฉมและแรงงานมีความเสี่ยงสูงจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี
.
อ้างอิง: "ค่าแรงขั้นต่ำกับชะตาของเศรษฐกิจไทย" เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น