#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
Fast Fashion เป็นโมเดลธุรกิจที่ใช้การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์แฟชั่นได้อย่างรวดเร็ว โดย brand fast fashion ที่มีชื่อเสียงได้แก่ H&M Zara และ Topshop ใช้เวลาประมาณ 5 สัปดาห์ถึง 6 เดือน ในการออกแบบ ผลิต และส่งสินค้าไปวางจำหน่ายที่หน้าร้าน โดยจะมีสินค้าใหม่ในร้านทุกสัปดาห์ ซึ่งถือเป็นแรงจูงใจให้ลูกค้าเยี่ยมชมสินค้าบ่อยขึ้นและตัดสินใจซื้อสินค้าเพื่อจะได้ไม่ตกเทรนด์. นอกจากนี้ แบรนด์ fast fashion ยังนำเสนอสินค้าที่หลากหลายแต่มีจำนวนน้อยชิ้นเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องการจัดการสินค้าคงคลัง.
.
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันได้มีโมเดลธุรกิจใหม่ในการบริหารห่วงโซ่อุปทานเกิดเป็น Ultra-Fast Fashion ซึ่งช่วยร่นระยะเวลาในการดีไซน์และผลิตสินค้าลงได้อย่างมาก โดยตัวอย่างในแบรนด์ Ultra-fast fashion ดังกล่าวได้แก่ Boohoo.com ASOS Missguided และ Fashion Nova ซึ่งสามารถผลิตและนำเสนอสินค้าได้ภายใน 2-4 สัปดาห์ ซึ่งแบรนด์ Ultra-fast fashion ดังกล่าวจะมีการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการที่สูงกว่า และมุ่งเน้นการทำธุรกิจ e-commerce จึงเข้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ได้ดีและเร็วกว่าแบรนด์ fast fashion
.
ในด้านช่องทางการขาย แบรนด์ Ultra-fast fashion ส่วนใหญ่จะใช้โมเดล Direct to Consumer (DTC) มุ่งเน้นขายสินค้าออนไลน์ให้กลุ่มลูกค้า Millennials และ Gen Z ซึ่งการใช้โมเดลธุรกิจ DTC ทำให้แบรนด์ Ultra-fast fashion มีข้อได้เปรียบที่สินค้าที่ถูกผลิตสามารถนำเสนอให้แก่ลูกค้าให้ทันที และแบรนด์สามารถนำเสนอสินค้าใหม่ได้ตลอดเวลา.
.
ในอีกมุมหนึ่งของอุตสาหกรรม ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหาด้านแรงงานของอุตสาหกรรมถือเป็นที่รับรู้ในวงกว้าง แต่ทั้ง Fast fashion และ Ultra-fast fashion ก็ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคยังต้องการสินค้าใหม่ๆ และตามเทรนด์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว. อย่างไรก็ดี แม้การลงทุนในกระบวนการผลิตที่ยั่งยืนจะส่งผลให้ต้นทุนของอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น แต่การปรับปรุงกระบวนการผลิตก็จะช่วยส่งผลให้เกิดนวัตกรรมหรือโมเดลธุรกิจใหม่ ที่สามารถส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ในทางบวก รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงในการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานได้
อ้างอิง: 'เมื่อ fast fashion ไม่เร็วพออีกต่อไป' SCB EIC
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น