ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ผลกระทบจากการเรียนออนไลน์ (s.297)


 

#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน

.

จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้มีข้อมูลจาก World Bank เผยว่า ณ วันที่ 15 มีนาคม 2564 ประเทศจำนวนประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศทั่วโลกมีการใช้มาตรการปิดโรงเรียนทั่วประเทศหรือบางส่วนเพื่อป้องกันการระบาด หรือคิดเป็นจำนวนนักเรียนกว่า 774 ล้านคน และในขณะที่กว่าครึ่งของประเทศทั่วโลก มีการเปิดเรียนแล้วแต่ยังไม่เต็มรูปแบบและยังคงมีข้อจำกัดต่างๆ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้นักเรียนต้องมีการปรับตัวและกระทบต่อคุณภาพการศึกษา ดังนี้

.

1. ความไม่พร้อมของอุปกรณ์การเรียน - ครอบครัวโดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลไม่สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้ นอกจากนี้ อุปกรณ์เหล่านี้เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาค่อนข้างสูงและมีค่าซ่อมบำรุงที่สูงเช่นกัน ทำให้ครอบครัวจำนวนมากไม่สามารถซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นได้

.

2. สภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวยต่อการศึกษา - การเรียนออนไลน์เป็นรูปแบบการเรียนใหม่ นักเรียนอาจไม่สามารถปรับตัวได้ทันซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการศึกษาที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านจิตใจ หรืออุปสรรคสำหรับวิชาที่เรียนทางไกลได้ลำบาก เช่น กลุ่มวิชาพละศึกษาและวิทยาศาสตร์

.

3. ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ - วิกฤตโควิด ทำให้ครอบครัวจำนวนมากมีรายได้ลดน้อยลง ซึ่งกระทบต่อศักยภาพในการจ่ายค่าเล่าเรียนและการซื้ออุปกรณ์การเรียน นอกจากนี้ นักเรียนบางรายอาจจำเป็นต้องออกจากระบบการศึกษาเพื่อหารายได้เสริมช่วยเหลือครอบครัวหรือส่งตัวเองเรียนต่อ ทำให้ได้รับการศึกษาไม่ต่อเนื่อง

.

4. ขาดการสนับสนุนด้านอื่นจากโรงเรียน - โรงเรียนนอกจากเป็นสถานที่เรียนรู้แล้ว ยังเป็นสถานที่ให้การสนับสนุนในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านโภชนาการ การปรึกษา การพยาบาล และอุปกรณ์การกีฬา ซึ่งการขาดการสนับสนุนเหล่านี้ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมการเรียนที่ไม่สมบูรณ์ และอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการศึกษาได้

.

5. งบประมาณสำหรับการศึกษาที่น้อยลง - ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ภาครัฐต้องเยียวยาประชาชนเป็นจำนวนมาก ในขณะที่การจัดเก็บรายได้ของภาครัฐลดน้อยลง ทำให้รัฐบาลต้องลดการจัดสรรงบประมาณสำหรับด้านการศึกษาไปสู่ภาคส่วนอื่นๆ อันส่งผลกระทบต่อการพัฒนาโรงเรียน การจ้างครูอาจารย์ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการเรียนออนไลน์

อ้างอิง: 'Covid-19 Education Disruption นัยต่อสังคมและเศรษฐกิจเมื่อโลกเปลี่ยนไปเรียนออนไลน์' EIC

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...