#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
วิกฤตโควิด-19 ในครั้งนี้ ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างกว้างขวาง โดยธนาคารกลางต่างๆ ได้มีมาตรการนโยบายทางการเงินออกมาเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจในหลายรูปแบบทั่วโลก รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทยของเรา ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปีที่แล้วเพื่อช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจ โดยสามารถแบ่งแนวทางการช่วยเหลือออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน
.
1) มาตรฐานสภาพคล่อง - เป็นการช่วยเหลือการขาดสภาพคล่องชั่วคราวจากผลของวิกฤตทั้งกับธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจ SME โดยให้ผู้ประกอบการสามารถพยุงเศรษฐกิจและการจ้างงาน โดยมีกลไกการค้ำประกันสินเชื่อจากภาครัฐเข้ามาสนับสนุน และสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ ช่วยเหลือผ่านการรักษาสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้
.
2) แก้ปัญหาความสามารถในการชำระหนี้ - ด้วยมาตรการพักชำระหนี้ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ไกล่เกลี่ยหนี้และพักทรัพย์ พักหนี้ เพื่อผ่อนภาระ โดยมีเสริมด้วยการให้สินเชื่อเพิ่มเติมในบางกรณี
.
3) การผ่อนคลายกฏเกณฑ์ต่างๆ - เพื่อเอื้อต่อการนำมาตรการช่วยเหลือเหล่านี้ไปปฏิบัติใช้ เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถช่วยเหลือลูกค้าและความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม
.
อย่างไรก็ดี ในแง่กำกับดูแลระบบการเงินให้มีเสถียรภาพ มี 3 ประเด็นที่ต้องระวังและควรติดตามสถานการณ์และผลของมาตรการอย่างใกล้ชิด
1) ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ - ซึ่งภาวะตกต่ำของเศรษฐกิจไทยที่เป็นอยู่อาจรุนแรงหรือลากยาวนานขึ้น
2) เศรษฐกิจที่ตกต่ำนานและการให้ความช่วยเหลือที่ลากยาวตามสถานการณ์จะทำให้สภาพที่แท้จริงของระบบการเงินและฐานะของสถาบันการเงินประเมินยากขึ้น
3) เมื่อเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น มาตรการช่วยเหลือต่างๆ ก็ควรหยุดหรือลดทอนลง ประเด็นที่สำคัญคือ จังหวะเวลาที่จะลดทอนการให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสม
.
อ้างอิง: 'ข้อคิดเกี่ยวข้อง วิกฤติ-เสถียรภาพระบบการเงิน' บัณฑิต นิจถาวร กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น