#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
มนุษย์เรามีความสามารถอย่างหนึ่งที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นทั่วไป คือ การคาดเดาเหตุการณ์ในอนาคต หรือ การคิดไปข้างหน้า ซึ่งช่วยให้เราสามารถคาดคะเนอุปสรรคหรือปัญหาและทำให้มีโอกาสที่จะวางแผนแก้ไข. ทั้งนี้หากการคิดไปข้างหน้านั้นช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายได้ ก็นับว่าเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์. อย่างไรก็ดี ความวิตกกังวลซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของการคิดไปข้างหน้า หากมีมากเกินไปก็จะทำให้เกิดความรู้สึกกระวนกระวาย และหวาดหวั่นจนชีวิตขาดความสุขได้.
.
มีนักจิตวิทยาพบว่า 3 สิ่งที่ทำให้คนเราเกิดความวิตกกังวล ได้แก่ 1) ความกำกวม - หรือการขาดความแน่ชัดจนสามารถตีความได้หลากหลาย 2) ความแปลกและใหม่ - หรือเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้ไม่สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้มาแล้วในอดีตมาใช้ประโยชน์ได้ และ 3) การคาดคะเนไม่ได้ - หมายถึงการไม่รู้ว่าต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น. ทั้งนี้ การระบาดของโควิดนี้มีครบทั้ง 3 เงื่อนไข จึงทำให้ผู้คนทั่วโลกเกิดความรู้สึกวิตกกังวลอย่างถ้วนหน้า.
.
นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลที่ทำให้การระบาดของโควิดเกิดเป็นความหวาดกลัวเป็นพิเศษ ซึ่งมีด้วยกัน 3 ข้อ ได้แก่ 1) โควิดเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น สามารถอยู่ได้ในทุกสถานที่และพร้อมเป็นภัยแก่ตัวเรา 2) สามารถติดจากคนสู่คนได้อย่างง่ายดายในทุกโอกาส และ 3) การติดเชื้ออาจเกิดเมื่อใดก็ได้โดยเฉพาะในเวลาอันใกล้. โดยปัจจัยทั้งสามอย่างข้างต้นทำให้เราเกิดความรู้สึกว่ามีการคุกคามอยู่ตลอดเวลาจนกลายเป็นความวิตกกังวลว่าอาจติดเชื้อจนป่วยหรือตายได้.
.
การแก้ปัญหาความวิตกกังวลจากโควิด นักจิตวิทยาได้มีคำแนะนำ 5 ข้อ ดังนี้ 1) ยึดวิทยาศาสตร์เป็นหลัก - อย่าสนใจคำพูดหรือข่าวที่พูดต่อกันมาในโซเชียลมีเดียมากนัก 2) ตัดขาดแต่ไม่ห่างไกล - รักษาระยะห่างทางสังคมอยู่เสมอ แต่ไม่ตัดขาดจากเพื่อนและคนที่เรารัก 3) เน้นกลุ่มใกล้ตัว - เน้นกลุ่มคนที่ใกล้ตัวเรา ต้องตระหนักถึงผลที่จะเกิดใกล้ตัวเสมอ เช่น คำพูด มารยาท การให้เวลา เป็นต้น 4) ฝึกฝนดูแล - ดูแลตนเองเป็นอย่างดี รวมถึงการออกกำลังกายและการพักผ่อนให้เพียงพอ 5) หาความหมาย - หาสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้มาทำ เช่น ปลูกดอกไม้ อ่านหนังสือ เป็นต้น.
อ้างอิง: 'กำราบวิตกจากโควิด' วรากรณ์ สามโกเศศ กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น