#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์ พบว่ายิ่งผู้นำเจอวิกฤตแล้วรู้สึกว่าตนเองมั่งคงน้อยลงแค่ไหน การกระจุกอำนาจก็จะเกิดมากขึ้นแค่นั้น ซึ่งจะไม่ใช่ความคิดที่หลายคนอาจคิดกันคือผู้บริหารที่บ้าอำนาจชอบที่จะกระจุกอำนาจ ในทางตรงข้ามผู้บริหารที่หวาดกลัวว่าวิกฤตจะทำให้อำนาจของตนเองลดน้อยถอยลงจะเป็นผู้บริหารที่ชอบรวบอำนาจมากขึ้น.
.
ทั้งนี้ความรู้สึกที่ว่าตนเองมีความไม่มั่นคงในยามวิกฤตนั้น มาจาก 2 สาเหตุที่สำคัญ คือ ความกลัวต่อความล้มเหลว และ ความไม่ไว้ใจในทีมงานของตน. โดยผู้บริหารที่ชอบชนะ พอเจอวิกฤตย่อมกลัวว่าครั้งนี้จะทำให้เขาแพ้ เลยต้องลงมาแข่งเองหรือเล่นเองในทุกขั้นตอน การกระจุกอำนาจในช่วงวิกฤตนี้จึงเกิดขึ้น ซึ่งหากผู้บริหารไม่กลัวการเสียหายหรือกลัวที่ต้องแพ้บ้าง การกระจุกอำนาจก็จะไม่เกิดขึ้น.
.
นอกจากนี้ความไม่ไว้วางในในทีมงานของตนเอง ก็เป็นอีกสาหตุหนึ่งของการกระจุกอำนาจ การมอบหมายหน้าที่การงานกลายเป็นการสั่งการ คือ สั่งให้ทำโน่น ทำนี่ ซึ่งหากทำไปแล้วติดตรงไหน ก็ต้องกลับมารายงานและถามผู้บริหารใหม่อีกครั้ง. ทั้งนี้ การมอบหมายหน้าที่การงานที่มีประสิทธิภาพได้นั้น จะเกิดขึ้นเมื่อผู้บริหารสามารถส่งมอบความรู้ ประสบการณ์ และค่านิยมในการทำงาน พร้อมกับเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมให้กับผู้รับมอบหมายไปทำหน้าที่นั้น ซึ่งเมื่อทำได้ก็จะทำให้อำนาจถูกกระจายออกไป.
.
อ้างอิง: 'กระจุกอำนาจ' บวร ปภัสราทร กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น