#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
ได้มีงานวิจัยของนักวิจัยชาวแคนาดาพบว่า การที่ใจล่องลอยอย่างไม่ทำอะไร จะไปช่วยเพิ่มการทำงานของส่วนวงจรในสมองที่เรียกว่า DMN (Default Mode Network) หรือระบบที่เชื่อมส่วนต่างๆ ของสมองซึ่งทำงานในเรื่องการแก้ไขปัญหา และเมื่อจิตใจของบุคคลล่องลอยไม่สนใจโลกภายนอก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานในส่วนนี้ของสมองยิ่งเพิ่มขึ้น. ทั้งนี้ งานวิจัยหลายชิ้นพบว่าสมองของมนุษย์พัฒนาขึ้นมาอย่างแฝงความขี้เกียจเอาไว้ บรรพบุรุษของเราแต่โบราณรู้ว่าพลังงานจากร่างกายเป็นทรัพยากรอันจำกัดที่มีค่ายิ่ง ดังนั้นจึงต้องถนอมแรงไว้ใช้ในเรื่องที่สำคัญ เช่น การหาอาหาร การหนีจากสัตว์ร้าย เป็นต้น.
.
ทั้งนี้ มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าหากมนุษย์ทำงานหนักมากจนถึงจุดหนึ่ง ก็มีแนวโน้มที่ผลิตภาพ (productivity) จะลดลง ซึ่งคำอธิบายคือ เมื่อมนุษย์ไม่มีเวลาพักผ่อนให้สดชื่น ทำให้มนุษย์อาจสร้างความผิดพลาดได้มากขึ้น และมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง.
.
มีแนวคิดใหม่ในเรื่องการใช้บางเวลาไปกับการฝันกลางวันโดยปล่อยใจให้ล่องลอย ปล่อยตัวแบบคนขี้เกียจอย่างจงใจ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการศึกษาวิจัยด้านจิตวิทยาและประสาทวิทยามากขึ้น จนเกิดความเข้าใจใหม่ในเรื่องคุณค่าของพฤติกรรม โดยงานวิจัยชี้ว่าการหยุดพักงานและปล่อยใจให้ล่องลอยจะช่วยให้สมองสามารถเก็บข้อมูลได้ดีขึ้น เกิดความคิดใหม่ มองเห็นแง่มุมที่สดใหม่
.
ดังนั้น ในช่วงเวลาที่เรามีเวลาว่างให้ฝันกลางวัน หรือคิดอะไรเรื่อยเปื่อยได้มาก จึงควรหาประโยชน์อย่างเต็มที่ ทำตัวแบบคนขี้เกียจ. โดย "คนขี้เกียจ" มักเก่งในการมองหาหนทางที่ง่ายในการทำงาน แต่คนที่พยายามเป็น "คนขี้เกียจ" อย่างมีกลยุทธ์ย่อมดีกว่าแค่การหาหนทางทำงานที่ง่ายด้วยความคิดที่สดใหม่และสร้างสรรค์
.
อ้างอิง: 'ขี้เกียจ เพื่อสร้างสรรค์' วรากรณ์ สามโกเศศ กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น