ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2020

5 โมเดลของการทำธุรกิจ e-commerce (s.40)

✅ e-commerce มีวัตถุประสงค์หนึ่งเพื่อใช้เป็นช่องทางช่วยลดต้นทุนของการบริหารจัดการและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะของอุตสาหกรรมนี้มีผู้เล่นรายย่อยจำนวนมาก โดยปัจจุบันโมเดลของการทำ e-commerce แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่. 1. Business to Business (B2B)  2. Business to Comsumer (B2C) 3. Consumer to Consumer (C2C) 4. Comsumer to Business (C2B)  5. Online to Offline (O2O) - เป็นช่องทางในการเชื่อมโยงลูกค้าจากออนไลน์ไปสู่พื้นที่ขายหรือพื้นที่กระจายสินค้าที่เป็นกายภาพ  . 💡 ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าประเภทโมเดลธุรกิจของ e-commerce มีได้หลายหลากรูปแบบ หากผู้ประกอบการสามารถพัฒนา business model ไม่อิงเฉพาะประเภทใดประเภทหนึ่ง ก็จะเป็นโอกาสในการขยายช่องทางใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นและเพิ่มมูลค่าในการบริหารจัดการให้กับองค์กรได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน .  #busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business

สร้างธุรกิจครอบครัวให้มีความยั่งยืน ? (s.39)

ธุรกิจครอบครัวมีส่วนใหญ่จะมีลักษณะหรือรูปแบบวิธีการในการประกอบธุรกิจที่คล้ายกัน คือ มองการลงทุนและสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาว, รักษาความเป็นเจ้าของให้มากที่สุดเพื่อสามารถทำในสิ่งที่ต้องการ, เน้นย้ำกับการพัฒนาและการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง, พัฒนาความสัมพันธ์กับผู้ที่มีส่วนได้เสียที่ภักดี สร้างทักษะพิเศษในบุคคลที่เลือกไว้, มีระดับหนี้สินที่ต่ำ, และเน้นการสร้างความมั่นคงทางการงิน. ซึ่งแนวทางของการบริหารในลักษณะนี้สะท้อนได้จากทัศนคติที่เป็นผู้ประกอบการ ซึ่งฝังอยู่ในรากฐานวัฒนธรรมขององค์กรครอบครัว ดังนั้น สมาชิกที่ต้องการมีความสำคัญในบริษัทหรือในครอบครัว สมาชิกดังกล่าวต้องมีความโดดเด่นในการบริหารจัดการเป็นสำคัญ. อย่างไรก็ดีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งธุรกิจครอบครัวที่ไม่สามารถคิดให้ไกลมากกว่าการคิดแค่เรื่องของการบริหารจัดการจะเริ่มมีความสามารถในการแข่งขันที่ถดถอย. โดยองค์กรธุรกิจเหล่านั้นมักคิดว่าพวกเขาสามารถสร้างนวัตกรรมจากความยุ่งเหยิงที่เป็นอยู่ หรือยังสามารถยึดติดกับสินค้าและกระบวนการดั้งเดิมที่เป็นอยู่ได้. ซึ่งท้ายที่สุ...

แนวโน้มที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้คน โดย เอคเซนเชอร์ (s.38)

มีบทความที่น่าสนใจบทความหนึ่ง โดย "เอคเซนเซอร์" ซึ่งได้คาดการณ์แนวโน้มผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากโรคระบาดที่เกิดขึ้น โดยเป็นแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับเรา 5 ด้านซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมในปัจจุบันและรวมถึงอนาคต ประกอบด้วย 1. ต้นทุนของความมั่นใจ - ผู้คนทั่วไปจะมีความรู้สึกว่าบุคคลหรือสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยอาจถือเป็นภัยที่มองไม่เห็น ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจในการทำกิจกรรมต่างๆ  เช่น การเดินทางพักผ่อนช่วงวันหยุด หรือการเดินทางไปทำงานต่างถิ่น. โดยผู้คนจะเริ่มประเมินความเสี่ยงของสิ่งที่อยู่ห่างออกไปมากขึ้นและเห็นค่าของสิ่งที่คุ้นเคย. ดังนั้น ธุรกิจต่างๆ จึงต้องมีการปรับตัวเพื่อสร้างและฟื้นฟูความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ซึ่งผู้ที่สร้างความมั่นใจและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคจะเป็นธุรกิจที่ผู้คนให้ความเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจกลับมา. 2. ศตวรรษแห่งความเสมือนจริง - การที่เกิดโรคระบาดและถูกทำให้ต้อง lockdown ตนเองอยู่ที่บ้าน เป็นจุดหนึ่งที่ผลักดันให้ผู้คนเข้าสู่โลกเสมือนหรืออนไลน์มากขึ้น ทั้งการสื่อสาร การเรียน การทำงาน การทำธุรกรรม และการบริโภค เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นกับคนทุกเพศและทุกวัย.  ทั้ง...

CEO จะเป็นผู้นำในการสร้างวัฒนธรรมที่เน้นข้อมูลได้อย่างไร (s.37)

ในบริษัทที่มีวัฒนธรรมที่เน้นการใช้ข้อมูลที่เข้มข้นนั้น การตัดสินใจที่สำคัญต่างๆ จะมีการแสดงข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลที่แสดงนั้นประกอบ ในขณะที่ผู้บริหารจะตัดสินอย่างถ้วนถี่จากการวิเคราะห์เชิงลึกมากกว่าการตัดสินใจโดยใช้ความรู้สึกหรือประสบการณ์. ในปี 2019 ได้มีการสำรวจจาก Deloitte โดยเป็นการสำรวจผู้บริหารในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้บริหารถึง 63% ไม่คิดว่าบริษัทของพวกเขาขับเคลื่อนโดยการใช้ข้อมูลวิเคราะห์ และเป็นจำนวนมากถึง 67% ที่รู้สึกว่าพวกเขาไม่มีความสะดวกในการเข้าถึงหรือใช้ข้อมูลจากเครื่องมือหรือทรัพยากรที่มีอยู่. นอกจากนี้ ยังมีการสำรวจโดย NewVatage Partners ซึ่งทำการสำรวจบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าบริษัทมากกว่า 75% รู้สึกว่าการปรับตัวของธุรกิจสำหรับการริเริ่ม Big Data และ AI เป็นความท้าทายหลักของธุรกิจ อย่างไรก็ดี จำนวนถึง 95% ได้กล่าวว่าวัฒธรรม โครงสร้างองค์กร และกระบวนการ เป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในการปรับตัว. หน้าที่ของ CEO - วัฒนธรรมขององค์กรหนึ่งๆ นั้นจะขึ้นกับทิศทางของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็น CEO. ซึ่งหาก CEO เป็นผู้นำท...

เตรียมความพร้อมของธุรกิจสำหรับโลกหลังการระบาด (s.36)

นอกเหนือจากวิกฤตทางด้านสุขภาพและมนุษยธรรมที่เกิดในช่วงการระบาดของโคโรนาไวรัส ผู้บริหารทั้งโลกต้องประสบกับปัญหาในเรื่องธุรกิจมากมาย อาทิเช่น การหายไปของดีมานลูกค้า การปรับเปลี่ยนกฎระเบียบอย่างกระทันหัน การสะดุดของห่วงโซ่อุปทาน การว่างงาน การหดตัวของเศรษฐกิจ และความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น ในบทความนี้ได้เสนอแนวคิด 5Ps - Postion (ตำแหน่ง), Plan (วางแผน), Perspective (มุมมอง), Project (โครงการ), และ Preparedness (การเตรียมพร้อม) สำหรับการเตรียมตัวเข้าสู่โลกหลังโควิด โดยแนวคิดดังกล่าวได้ดัดแปลงมาจากแนวคิดทางด้านกลยุทธ์ 5Ps ของ Henry Mintzberg ประกอบด้วย Plan (วางแผน), Ploy (วิธีการ), Pattern (แบบแผน), Postion (ตำแหน่ง) และ Perspective (มุมมอง)    1. ตำแหน่งของธุรกิจคุณระหว่างและภายหลังจากโรคระบาด      ในการตัดสินใจกลยุทธ์ที่ถูกต้อง คุณต้องทำความเข้าใจตำแหน่งขององค์กรในสภาพแวดล้อมของธุรกิจ. เนื่องจากปัจจัยที่แตกต่างระหว่างธุรกิจหรือแม้แต่องค์กรที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ทำให้องค์กรมีความยืดหยุ่นหรือการปรับตัวที่แตกต่างกัน คุณควรเริ่มวิเคราะห์เพื่อกำหนดตำแหน่งขององค์กรเม...

ฟังเพลงอย่างไรช่วยบัดบัดจิตใจ ? (s.33)

ผลการวิจัยของสถาบันการบำบัดด้วยเสียงแห่งประเทศอังกฤษ (The British Academy of Sound Therapy) ได้ทำการพยายามหาคำตอบเพื่อยืนยันเกี่ยวกับสมมุติฐานว่า "เพลงมีผลต่อสุขภาพของคน" และเพลงประเภทใดหรือดนตรีประเภทใดมีผลต่อสภาวะอารมณ์ใดของเราในแต่ละช่วงขณะ. โดยผลการวิจัยได้แบ่งประเภทออกได้เป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย 1. เพลงเพื่อความผ่อนคลาย - เพลงที่อยู่ในกลุ่มนี้เป็นเพลงที่มีจังหวะช้าๆ ดนตรีเรียบง่าย และไม่มีเสียงร้อง ซึ่งจะช่วยลดความตึงเครียด ลดความคิดเชิงลบ และทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น โดยการฟังเพลงดังกล่าวให้ได้ผลควรฟังอย่างน้อยเป็นเวลา 13 นาที. 2. เพลงเพื่อความสุข - เป็นเพลงที่มีจังหวะเร่งเร้า แต่เนื้อหายังคงเกี่ยวกับความสุข ซึ่งจะช่วยผู้ฟังให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ฟังแล้วมีความสุขมากขึ้น หัวเราะมากขึ้น รู้สึกมีพลังอำนาจควบคุมชีวิตตนเองได้  โดยผลของเพลงประเภทนี้ควรฟังอย่างน้อยเป็นเวลา 9 นาที. 3. เพลงเพื่อปลดปล่อยความซึมเศร้า - เพลงประเภทนี้จะเป็นเพลงที่มีเนื้อหาสอดคล้องตรงใจกับเรื่องราวของตนเอง ซึ่งจะช่วยผู้ฟังให้มีความเศร้าน้อยลง ความรู้สึกทางอารมณ์มั่นคงมากขึ้น ได้รู้สึกปลดปล่อย ผ่อนคลาย ...

พฤติกรรมผู้บริโภคหลังโควิด-19 (s.34)

มายแชร์ ประเทศไทย ได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับโลกภายหลังโรคระบาดในครั้งนี้โดยมีชื่อว่า The New Norms' How Life Will Unfold After COVID-19 ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงเทรนด์ของผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นรวม 7 สิ่งภายหลังโรคโควิด-19 นี้ โดยประกอบด้วย 1. การหมุนกลับของโลกาภิวัฒน์ - วิกฤตที่เกิดขึ้นทำให้แบรนด์และผู้บริโภคตระหนักถึงการที่ควรต้องพึ่งพาประเทศของตนเองมากขึ้น ซึ่งเราจะเริ่มเห็นการย้ายฐานการผลิตกลับประเทศตนเอง และรวมถึงเพิ่มฐานการผลิตให้มากกว่า 1 แห่งเพื่อกระจายความเสี่ยง. ในขณะที่ประชาชนจะปรับตัวให้พึ่งพาตนเองมากขึ้น เพิ่มทักษะความรู้ต่างๆ และมีการหารายได้เสริมเพิ่มเติม. 2. ดิจิตัล กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานของชีวิต - ในมุมการค้าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายถูกให้ปรับตัวใช้แพลตฟอร์มออนไลน์กันมากขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีของแบรนด์เช่นกันในการใช้ข้อมูลจำนวนมากในช่วงนี้ไปต่อยอดรักษาและขยายฐานลูกค้า. นอกจากนี้ เดลิเวอรี่ การชำระสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็เติบโตตาม ทำให้สังคมไร้เงินสดมีบทบาทมากขึ้น. และการอยู่ที่บ้านทำให้การที่ธุรกิจต้องพยายามสร้างประสบการณ์เสมือนจริงมีมากขึ้นเช่นกัน. 3. บิ๊กดาต้...

สำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการหลังวิกฤตโควิด (s.35)

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ทำการสำรวจในโครงการ Business Liason Program เกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ประกอบการแต่ละอุตสาหกรรมทั่วประเทศในช่วงที่ผ่านมา โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ คือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว - ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนใหญ่ปรับตัวได้ค่อนข้างยาก โดยคาดว่าการท่องเที่ยวจะกลับมาเร็วสุดประมาณไตรมาส 4 ปี 2653 แต่อาจต้องใช้ระยะเวลา 1-2 ปี กว่าจะกลับมาสู่ภาวะเดิมก่อนวิกฤต - ในส่วนสายการบินมีการเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนมาก บางสายการบินใช้ช่วงที่หยุดบินมาปรับปรุงและซ่อมแซมเครื่องบิน. โดยในระยะข้างหน้าคาดว่าความต้องการเครื่องบินขนาดเล็กและแคบลงจะมีมากขึ้น - ร้านอาหาร โรงแรมและธุรกิจในเครือพันธมิตรของจีน จะมีการใช้พนักงานร่วมกันมากขึ้น โดยมีพนักงานในส่วนกลางเพื่อให้สามารถยืมตัวกันได้ในช่วงเร่งด่วน ธุรกิจค้าปลีก  - มีการขายออนไลน์บน Platform และ Social Media มากขึ้น รวมถึงทำ Content Marketing เพื่อส่งเสริมการขาย - ร้านค้าปรับมาขายสินค้าที่มีความต้องการมากขึ้น เช่น เจลล้างมือ หน้ากาก รวมถึงให้บริการส่งสินค้า หรือ มารับสินค้าแบบ Drive Through มากขึ้น - ธุรกิจค้าปลีกคาดว่าจะกลั...

วัฒนธรรมองค์กรในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกันอย่างไร ? (s.32)

จากผลการสำรวจจำนวน 12,800 ของแบบสอบถามที่ได้รับกลับมาจากทั่วโลกระหว่างช่วงเดือนธันวาคม 2560 ถึง พฤษภาคม 2562 ซึ่งเป็นการสำรวจถึงพฤติกรรมและบรรทัดฐานที่ยั่งยืนร่วมกันภายในองค์กร โดยผลที่ได้จะนำมาแบ่งลำดับความสำคัญออกเป็น 8 ลักษณะ ซึ่งจัดกลุ่มได้ออกเป็น 2 มิติ คือ การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง (การปรับตัว หรือ ความมั่งคง) และ การโต้ตอบระหว่างผู้คน (เป็นอิสระ หรือ เป็นกลุ่ม). โดยลักษณะ 8 อย่างในแบบสอบถามประกอบด้วย : การเรียนรู้, การมีจุดมุ่งหมาย, ความใส่ใจ, ความสนุกสนาน, เน้นผลลัพธ์, เน้นแบบแผน, ความปลอดภัย และ การใช้อำนาจ. จากผลการสำรวจพบว่า "ความใส่ใจ" และ "เน้นผลลัพธ์" เป็นลักษณะวัฒนธรรมที่เด่นชัดที่พบเจอได้ในทุกภูมิภาคของโลก ซึ่งสะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับความร่วมมือและความสำเร็จในที่ทำงาน ในขณะที่ "การใช้อำนาจ" และ "ความสนุกสนาน" ได้รับการจัดลำดับที่ต่ำที่สุด แสดงถึงการให้ความความสำคัญที่น้อยกว่าขององค์กรในเรื่องของความเด็ดขาดและความเป็นธรรมชาติ. โดยหากดูตามลำดับความสำคัญของลักษณะพฤติกรรมของทุกภูมิภาคจะสามารถเรียงลำดับจากความสำคัญมากที่สุดไปน้อยท...

พนักงานของคุณมีความภักดีมากกว่าที่คุณคิด (s.31)

สิ่งที่พบเห็นและมีความเชื่อโดยทั่วไปของลักษณะการทำงานในปัจจุบัน คือ การย้ายที่ทำงานถือเป็นเรื่องปกติของคนทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างนายจ้างและพนักงานเป็นเรื่องยากที่จะสร้างมันขึ้นมา. อย่างไรก็ดี จากข้อมูลสถิติกลับพบว่าคนทำงานในปัจจุบันมีการย้ายที่ทำงานน้อยกว่าที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีที่แล้ว. ประเด็นที่น่าคิด คือ ทำไมคนทั่วไปถึงมีความรับรู้ในเรื่องของการย้ายงานว่ามีมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถอธิบายได้ ดังนี้คือ      1. กลุ่มคนทำงานที่เป็นผู้ชาย ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เห็นชัดได้เจนในสังคม มีระยะเวลาในการทำงานกับนายจ้างที่หนึ่งๆ เป็นระยะเวลาที่น้อยลง โดยในช่วงปี 1980s กลุ่มผู้ชายอายุ 40-64 ปี มีถึง 32% ที่ทำงานกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นระยะเวลายาวนานถึง 20 ปี ในขณะที่เมื่อเทียบกับปัจจุบัน ตัวเลขดังกล่าวลดลงเหลือ 21% ซึ่งการลดลงสามารถอธิบายจากตัวเลขที่ลดลงของพนักงานในภาคอุตสาหกรรม และการลดลงของสหภาพแรงงานในอเมริกา.      2. สาเหตุอีกอย่างที่อธิบายถึงความเชื่อของคนทั่วไปว่าพนักงานมีการเปลี่ยนงานบ่อย คือ ภาพที...

5 หลุมพรางทางความคิด โลกหลังโควิค (s.30)

บทความจาก ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ "TDRI" เป็นบทความที่น่าสนใจและให้ประโยชน์ในการตีโจทย์ประเด็นความคิดของเราที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ New Normal หลังการคลาย Lockdown หรือหลังจากโควิค ซึ่งมักมีหลุมพรางในความคิดความเชื่ออย่างน้อย 5 ข้อ ดังนี้ 1. การไม่แยกแยะ “ความผิดปกติปัจจุบัน” (current abnormal) ในช่วงที่โควิด-19 ระบาด เช่น การรักษาระยะห่างทางสังคม กับ “ความปกติใหม่” (new normal) ใน “โลกหลังโควิด-19” เช่นการประชุมผ่านระบบออนไลน์ที่น่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคต - ซึ่งคนทั่วไปอาจมีความเข้าใจผิดว่าพฤติกรรมที่ผิดปกติในช่วงปัจจุบันจะดำรงต่อเนื่องไปในอนาคต แต่มีหลักฐานในอดีตหลายเรื่องที่พบว่าหลายกรณีพฤติกรรมส่วนใหญ่ในช่วงผิดปกติจะหายไปอย่างรวดเร็วเมื่อเหตุการณ์กลับมาเป็นปกติ เช่น การพูดว่าเมืองหลังโควิค ผู้คนจะนิยมในบ้านเดี่ยวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นความผิดปกติในปัจจุบันมากกว่าการที่จะเป็นความผิดปกติใหม่. โดยหากเปรียบเทียบกับกรณีน้ำท่วมใหญ่ ซึ่งมีการพูดถึงในสังคมกันอย่างมากว่าบ้านแถวปทุมธานีจะขายไม่ได้เพราะคนกลัวน้ำท่วม แต่หลังจากระยะเว...

กับดักของความวิตกกังวล และเราจะหลีกหนีอย่างไร (s.29)

จากสถิติของสถาบัน National Institute of Mental Health ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เน้นการวิจัยเกี่ยวกับความผิดปกติของจิตใจ ได้เปิดเผยว่ามีประชากรในวัยทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 19% ที่ประสบปัญหากับความผิดปกติในเรื่องการวิตกกังวลมากเกินไป และถึง 31% ของประชากรเคยประสบกับปัญหากับเรื่องดังกล่าวอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต. เมื่อเราเกิดความวิตกกังวลที่มากเกินไป เรามักติดอยู่ในกับดักของความคิดที่ไม่ปกติหรือในหลายครั้งความคิดของเราจะถูกจำกัด ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ง่ายนัก ซึ่งผู้ที่อยู่ในภาวะที่วิตกกังวลมากเกินไปนั้น มักจะมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น - คิดแต่เฉพาะเหตุการณ์ที่ร้ายแรง : คิดซ้ำไปซ้ำมาแต่กับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่แย่ที่สุด (worst possible outcome) โดยแทบไม่คิดถึงผลลัพธ์ของสถานการณ์อื่นๆ - เป็นห่วงในความคิดของคนอื่นที่มีกับตนเอง : พยายามคิดหรือเดาว่าคนอื่นคิดกับเราอย่างไร ซึ่งมักจะคิดว่าคนอื่นมองตนในทางลบเป็นส่วนใหญ่ - มุ่งหวังในโชคลาภ : จินตนาการถึงอนาคตที่สดใส โดยที่ไม่ได้มีข้อมูลหรือเหตุผลมารองรับ - คิดแบบไม่ขาวก็ดำ : คิดถึงความเป็นไปได้มี...