ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการหลังวิกฤตโควิด (s.35)


ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ทำการสำรวจในโครงการ Business Liason Program เกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ประกอบการแต่ละอุตสาหกรรมทั่วประเทศในช่วงที่ผ่านมา โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ คือ

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
- ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนใหญ่ปรับตัวได้ค่อนข้างยาก โดยคาดว่าการท่องเที่ยวจะกลับมาเร็วสุดประมาณไตรมาส 4 ปี 2653 แต่อาจต้องใช้ระยะเวลา 1-2 ปี กว่าจะกลับมาสู่ภาวะเดิมก่อนวิกฤต
- ในส่วนสายการบินมีการเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนมาก บางสายการบินใช้ช่วงที่หยุดบินมาปรับปรุงและซ่อมแซมเครื่องบิน. โดยในระยะข้างหน้าคาดว่าความต้องการเครื่องบินขนาดเล็กและแคบลงจะมีมากขึ้น
- ร้านอาหาร โรงแรมและธุรกิจในเครือพันธมิตรของจีน จะมีการใช้พนักงานร่วมกันมากขึ้น โดยมีพนักงานในส่วนกลางเพื่อให้สามารถยืมตัวกันได้ในช่วงเร่งด่วน

ธุรกิจค้าปลีก 
- มีการขายออนไลน์บน Platform และ Social Media มากขึ้น รวมถึงทำ Content Marketing เพื่อส่งเสริมการขาย
- ร้านค้าปรับมาขายสินค้าที่มีความต้องการมากขึ้น เช่น เจลล้างมือ หน้ากาก รวมถึงให้บริการส่งสินค้า หรือ มารับสินค้าแบบ Drive Through มากขึ้น
- ธุรกิจค้าปลีกคาดว่าจะกลับมาได้อย่างเร็วในไตรมาส 4 ปี 2653 โดยจะเห็นผู้บริโภคออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน และจับจ่ายอย่างไร้กังวล
- การลงทุนเพื่อเปิดสาขาในเมืองหลักมีแนวโน้มลดลง
- ทั้งนี้ ตัวอย่างในประเทศจีนได้มีการพัฒนาระบบ Digital technology เพื่อช่วยวางระบบออนไลน์ให้กับร้านค้าผ่าน Application นอกจากนี้ยังมีการให้พนักงานขายประจำห้างสรรพสินค้ามาขายในออนไลน์ผ่าน Platform เช่น WeChat

อุตสาหกรรมการผลิต
- ธุรกิจการผลิตมีการหยุดเกือบทั้งหมดในช่วง lockdown จากปัญหาของ Supply Chain
- ธุรกิจการผลิตบางรายมีการปรับเปลี่ยนไลน์การผลิตมาผลิตสินค้าที่จำเป็น เช่น ธุรกิจผู้ผลิตรถยนต์บางรายปรับสายการผลิตเป็นทำเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หรือ ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มาผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น
- การผลิตคาดว่าจะกลับมาดีขึ้น เมื่อประเทศต่างๆ เริ่มผ่อนคลายการ lockdown และคาดว่าจะกลับมาเป็นปกติในช่วงไตรมาส 4 ปี 2563
- ทั้งนี้ อนาคตการผลิตจะเริ่มมีการกระจายความเสี่ยงมากขึ้น เช่น การหาวัตถุดิบหรือการตั้งโรงงานในหลายแห่ง รวมถึงการลงทุนใน Digital Platform และ Automation มากขึ้น
- ตัวอย่างในประเทศจีน เช่น ผู้ผลิตอาหารเน้นการขายหน้าร้านเล็กๆ และขายออนไลน์มากขึ้น รวมถึงมีการเปลี่ยนช่องทางการขายได้ตลอด ทำให้ผู้จัดส่งวัตถุดิบและสินค้ามีความยืดหยุ่นมากขึ้น. ในขณะตัวอย่างในสหรัฐอเมริกาและญุี่ปุ่น ผู้ประกอบการมีการจัดหารแหล่งวัตถุดิบแหล่งอื่นเพิ่มเติม เน้นทำการตลาดออนไลน์โดยเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพ

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
- ผู้ประกอบการมีการจัดโปรโมชั่นที่แรงขึ้นเพื่อระบายสต็อก ในขณะโครงการใหม่มีการชะลอการเปิดตัว
- ปัจจุบันมีความกังวลเรื่อง Oversupply ของอสังหาริมทรัพย์ แต่ความกังวลดังกล่าวน่าจะดีขึ้นภายหลังจากสถานการณ์ระบาดดีขึ้น
- ตัวอย่างในจีนและสหรัฐอเมริกา พบว่ามีการปรับตัวโดยการเน้นการขายตลาดออนไลน์มากขึ้น ทั้งแบบ Live และพัฒนาระบบขายแบบ Online Booking


#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business

สรุปจาก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 8 พฤษภาคม 2563

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...