ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วัฒนธรรมองค์กรในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกันอย่างไร ? (s.32)


จากผลการสำรวจจำนวน 12,800 ของแบบสอบถามที่ได้รับกลับมาจากทั่วโลกระหว่างช่วงเดือนธันวาคม 2560 ถึง พฤษภาคม 2562 ซึ่งเป็นการสำรวจถึงพฤติกรรมและบรรทัดฐานที่ยั่งยืนร่วมกันภายในองค์กร โดยผลที่ได้จะนำมาแบ่งลำดับความสำคัญออกเป็น 8 ลักษณะ ซึ่งจัดกลุ่มได้ออกเป็น 2 มิติ คือ การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง (การปรับตัว หรือ ความมั่งคง) และ การโต้ตอบระหว่างผู้คน (เป็นอิสระ หรือ เป็นกลุ่ม). โดยลักษณะ 8 อย่างในแบบสอบถามประกอบด้วย : การเรียนรู้, การมีจุดมุ่งหมาย, ความใส่ใจ, ความสนุกสนาน, เน้นผลลัพธ์, เน้นแบบแผน, ความปลอดภัย และ การใช้อำนาจ.

จากผลการสำรวจพบว่า "ความใส่ใจ" และ "เน้นผลลัพธ์" เป็นลักษณะวัฒนธรรมที่เด่นชัดที่พบเจอได้ในทุกภูมิภาคของโลก ซึ่งสะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับความร่วมมือและความสำเร็จในที่ทำงาน ในขณะที่ "การใช้อำนาจ" และ "ความสนุกสนาน" ได้รับการจัดลำดับที่ต่ำที่สุด แสดงถึงการให้ความความสำคัญที่น้อยกว่าขององค์กรในเรื่องของความเด็ดขาดและความเป็นธรรมชาติ.

โดยหากดูตามลำดับความสำคัญของลักษณะพฤติกรรมของทุกภูมิภาคจะสามารถเรียงลำดับจากความสำคัญมากที่สุดไปน้อยที่สุดได้ดังนี้ คือ ความใส่ใจ, เน้นผลลัพธ์, การมีจุดมุ่งหมาย, การเรียนรู้, ความปลอดภัย, เน้นแบบแผน, การใช้อำนาจ และ ความสนุกสนาน.

*ลักษณะความแตกต่างในแต่ละภูมิภาค*
เมื่อพิจารณาลึกลงไปในแต่ละภูมิภาคจะพบว่าในภูมิภาคเอเซีย องค์กรจะให้ความสำคัญกับ "ความใส่ใจ" และ "การมีจุดมุ่งหมาย" เป็นสำคัญ โดยที่คะแนนของ "ความใส่ใจ" จะมากกว่า "การมีจุดมุ่งมาย" ถึงเกือบ 50%. ในขณะที่ภูมิภาคอเมริกาเหนือจะเน้น "ความใส่ใจ" และ "เน้นผลลัพธ์" ซึ่งคะแนนทั้งสองไม่ต่างกันมากนัก. และสำหรับภูมิภาคยุโรปตะวันตก องค์กรจะให้ความสำคัญกับ "ความใส่ใจ" และ "เน้นผลลัพธ์" เช่นเดียวกับภูมิภาคอเมริกาเหนือ.

*มิติการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง*
จากการสำรวจพบว่าองค์กรในภูมิภาคแอฟริกามีมิติของการปรับตัวที่สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยพิจารณาจากคุณลักษณะที่ให้ความสำคัญกับ "การเรียนรู้" และ "การมีจุดมุ่งหมาย" ที่สูง ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวแสดงถึงการเปิดรับการเปลี่ยนแปลงผ่านนวัตกรรม กระบวนการทำงานแบบคล่องตัว (agility) และความหลากหลาย. ในขณะที่องค์กรในยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลางจะมีมิติของความมั่นคงที่สูง โดยลักษณะที่ "เน้นความปลอดภัย" จะพบได้ทั่วไปในลำดับที่สูงในองค์กรภูมิภาคดังกล่าว.

*มิติการโต้ตอบระหว่างผู้คน*
ผู้คนที่ทำงานในบริษัทในภูมิภาคยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือรวมถึงอเมริกาใต้จะมีความเป็นอิสระสูง. โดยองค์กรในยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือจะให้ความสำคัญกับผลลัพธ์, การบรรลุเป้าหมาย, และความสำเร็จ. สิ่งที่น่าสนใจจากข้อมูลคือ ภูมิภาคอเมริกาใต้มีการให้ความสำคัญกับ "ความสนุนกสนาน" ที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งแสดงถึงการที่ผู้คนในภูมิภาคนี้มีนิสัยที่ชอบความสนุก ความตื่นเต้น และทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เครียดมากนัก. ในทางกลับกัน ภูมิภาคเอเซีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จะมีมิติของการทำงานที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและเน้นความร่วมมือที่มาก. นอกจากนี้องค์กรในภูมิภาคเอเซียจะเน้นแบบแผนผ่านวัฒนธรรมของความร่วมมือ ความเคารพนับถือ และการเคารพกฎเกณฑ์.

*ความหมายที่มีต่อผู้จัดการหรือผู้นำองค์กร*
การที่ผู้จัดการหรือผู้นำองค์กรเข้าใจความแตกต่างในวัฒนธรรมและความเชื่อของผู้คนในแต่ภูมิภาคของโลกถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากเมื่อต้องบริหารผู้คนที่มาจากหลากหลายพื้นที่ โดยเฉพาะหากต้องบริหารจัดการทีมระดับโลก ซึ่งค่านิยมและคุณค่าของพนักงานที่แตกต่างกันนี้อาจส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดและความตึงเครียดในทีมงานหากบริหารด้วยความไม่เข้าใจที่ดีพอ. 

วัฒนธรรมสามารถเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับการบำรุงรักษา การเริ่มต้นใหม่ และการปรับเปลี่ยนการทำงานขององค์กร. ดังนั้น ผู้จัดการหรือผู้นำที่เข้าใจในบริบทที่แตกต่างของผู้คนในแต่สังคมและไม่ใช้สมมุติฐานสำหรับการจัดการทั่วไปกับทุกคนในองค์กร จะสามารถใช้ประโยชน์เพื่อสร้างแรงผลักดันให้กับองค์กรให้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป.

#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business

สรุปจาก "How Corporate Cultures Differ Around the World" by J. Yo-Jud Cheng, Boris Groysberg

s.32 6-May-20

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...