นอกเหนือจากวิกฤตทางด้านสุขภาพและมนุษยธรรมที่เกิดในช่วงการระบาดของโคโรนาไวรัส ผู้บริหารทั้งโลกต้องประสบกับปัญหาในเรื่องธุรกิจมากมาย อาทิเช่น การหายไปของดีมานลูกค้า การปรับเปลี่ยนกฎระเบียบอย่างกระทันหัน การสะดุดของห่วงโซ่อุปทาน การว่างงาน การหดตัวของเศรษฐกิจ และความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น
ในบทความนี้ได้เสนอแนวคิด 5Ps - Postion (ตำแหน่ง), Plan (วางแผน), Perspective (มุมมอง), Project (โครงการ), และ Preparedness (การเตรียมพร้อม) สำหรับการเตรียมตัวเข้าสู่โลกหลังโควิด โดยแนวคิดดังกล่าวได้ดัดแปลงมาจากแนวคิดทางด้านกลยุทธ์ 5Ps ของ Henry Mintzberg ประกอบด้วย Plan (วางแผน), Ploy (วิธีการ), Pattern (แบบแผน), Postion (ตำแหน่ง) และ Perspective (มุมมอง)
1. ตำแหน่งของธุรกิจคุณระหว่างและภายหลังจากโรคระบาด
ในการตัดสินใจกลยุทธ์ที่ถูกต้อง คุณต้องทำความเข้าใจตำแหน่งขององค์กรในสภาพแวดล้อมของธุรกิจ. เนื่องจากปัจจัยที่แตกต่างระหว่างธุรกิจหรือแม้แต่องค์กรที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ทำให้องค์กรมีความยืดหยุ่นหรือการปรับตัวที่แตกต่างกัน คุณควรเริ่มวิเคราะห์เพื่อกำหนดตำแหน่งขององค์กรเมื่อโรคระบาดบรรเทาลง.
2. แผนการสำหรับการกลับมาของธุรกิจ
แผนการดังกล่าวควรเป็นแผนที่อธิบายในสิ่งที่ต้องคุณเริ่มทำในวันนี้เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการในวันข้างหน้า. การขาดการกำหนดแผนที่ชัดเจนจะยิ่งทำให้เกิดความสับสนโดยเฉพาะในสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนอยู่มากแล้วในปัจจุบัน.
3. วัฒธรรมและตัวตนขององค์กรเปลี่ยนแปลงอย่างไร
"มุมมอง" ในที่นี้ให้ความหมายถึงการที่องค์กรมีมุมมองต่อโลกและตนเองอย่างไร ซึ่งในบริบทนี้ วัฒนธรรมและตัวตนขององค์กรทั่วไปจะมีเปลี่ยนแปลงจากผลของโรคระบาด. ทั้งนี้ วิกฤตที่เกิดขึ้นสามารถนำพาผู้คนให้เกิดสปิริตของความสามัคคีอดทนร่วมกันในการฝ่าฟัน แต่ในทางกลับกันก็สามารถผลักผู้คนให้แยกห่างกัน เกิดความไม่ไว้ววางใจกัน และเห็นแก่ตัวเพิ่มมากขึ้น. ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องมีมุมมองต่อบริบทองค์รวมให้ถูกต้องเพื่อให้การกำหนดการกระทำในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังจากโรคระบาดเป็นไปได้อย่างต้องการ.
4. โครงการใหม่อะไรบ้างที่จำเป็นต้องผลักดัน ดำเนินการ หรือประสานงาน
คำตอบของคุณควรพุ่งไปที่โครงการสำหรับการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับไวรัสโคโรนาที่มีต่อองค์กร. โดยความท้าทายจะอยู่ที่การจัดลำดับความสำคัญและการรวบรวมความคิดริเริ่มที่จะเป็นตัวพิสูจน์องค์กรในอนาคต. ทั้งนี้ควรระวังการเริ่มต้นโครงการที่มากเกินไปหรือต้องใช้ทรัพยากรที่สำคัญร่วมกัน ซึ่งทำให้คุณไม่สามารถมุ่งเน้นในการกระทำและทำให้โอกาสประสบความสำเร็จในโครงการลดน้อยลง.
5. เตรียมตัวสำหรับดำเนินการตามแผนและโครงการ
เรื่องสุดท้ายคือคุณต้องทำการสำรวจองค์กรในเรื่องของการเตรียมความพร้อม ซึ่งรวมถึงเรื่องการของดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการที่ได้วางไว้. โดยองค์กรอาจต้องพิจารณาถึงความพร้อมและความแตกต่างในการเตรียมตัวในระดับของตัวบุคคล ในระดับทีมงาน ในระดับองค์กร หรือแม้กระทั่งอาจต้องพิจารณาถึงระดับประเทศ ซึ่งความพร้อมดังกล่าวอาจสร้างความแตกต่างระหว่างองค์กรที่ประสบความสำเร็จและองค์กรที่ล้มเหลว.
สุดท้ายให้ระวังว่าผู้บริโภคจะจำว่าองค์กรของคุณปฏิบัติอย่างไรในช่วงวิกฤต. การแสดงออกด้วยความเอื้อเฟื้อ เห็นใจ หรือการเอาเปรียบขึ้นราคาสินค้าในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีผลอย่างมากต่อความสัมพันธ์ของคุณกับผู้บริโภคในอนาคต.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
สรุปจาก "Preparing Your Business for a Post-Pandemic World" by Carsten Pedersen และ Thomas Ritter
s.36 14-May-20
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น