ผลการวิจัยของสถาบันการบำบัดด้วยเสียงแห่งประเทศอังกฤษ (The British Academy of Sound Therapy) ได้ทำการพยายามหาคำตอบเพื่อยืนยันเกี่ยวกับสมมุติฐานว่า "เพลงมีผลต่อสุขภาพของคน" และเพลงประเภทใดหรือดนตรีประเภทใดมีผลต่อสภาวะอารมณ์ใดของเราในแต่ละช่วงขณะ.
โดยผลการวิจัยได้แบ่งประเภทออกได้เป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย
1. เพลงเพื่อความผ่อนคลาย - เพลงที่อยู่ในกลุ่มนี้เป็นเพลงที่มีจังหวะช้าๆ ดนตรีเรียบง่าย และไม่มีเสียงร้อง ซึ่งจะช่วยลดความตึงเครียด ลดความคิดเชิงลบ และทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น โดยการฟังเพลงดังกล่าวให้ได้ผลควรฟังอย่างน้อยเป็นเวลา 13 นาที.
2. เพลงเพื่อความสุข - เป็นเพลงที่มีจังหวะเร่งเร้า แต่เนื้อหายังคงเกี่ยวกับความสุข ซึ่งจะช่วยผู้ฟังให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ฟังแล้วมีความสุขมากขึ้น หัวเราะมากขึ้น รู้สึกมีพลังอำนาจควบคุมชีวิตตนเองได้ โดยผลของเพลงประเภทนี้ควรฟังอย่างน้อยเป็นเวลา 9 นาที.
3. เพลงเพื่อปลดปล่อยความซึมเศร้า - เพลงประเภทนี้จะเป็นเพลงที่มีเนื้อหาสอดคล้องตรงใจกับเรื่องราวของตนเอง ซึ่งจะช่วยผู้ฟังให้มีความเศร้าน้อยลง ความรู้สึกทางอารมณ์มั่นคงมากขึ้น ได้รู้สึกปลดปล่อย ผ่อนคลาย และมีถึงจำนวนหนึ่งที่รู้สึกว่าพวกเขาได้ออกจากสภาวะโศกเศร้า โดยผลของเพลงประเภทนี้ต่อผู้ฟังจะเกิดเมื่อผู้ฟังฟังอย่างน้อย13 นาที.
4. เพลงเพื่อช่วยในการโฟกัสกับสิ่งที่ทำ - เป็นเพลงประเภทคลาสสิคที่มีจังหวะทำนองช้า ไม่มีคำร้อง ซึ่งทำให้ผู้ฟังสามารถโฟกัสกับสิ่งที่ทำได้ดียิ่งขึ้น จิตใจปลอดโปร่ง ทำงานได้ดีขึ้น และรู้สึกว่าสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น. ทั้งนี้การฟังเพลงประเภทดังกล่าวเพื่อให้ได้ผล ควรฟังอย่างน้อย 13 นาที.
ดังนั้น จากผลการวิจัยจะเห็นได้ว่าเพลงกับอารมณ์มีความสัมพันธ์กับอย่างมาก หากเราใช้ประเภทของดนตรีให้ถูกกับสถานการณ์และระยะเวลาที่เหมาะสม จะช่วยให้เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานหรือสร้างอารมณ์ที่ดีให้กับเราได้.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
สรุปจาก คอลัมม์หน้าต่างข่าววิทย์-เทคโนโลก จากหนังสือสาระวิทย์ โดย สวทช. พฤษภาคม 2563
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น