ธุรกิจครอบครัวมีส่วนใหญ่จะมีลักษณะหรือรูปแบบวิธีการในการประกอบธุรกิจที่คล้ายกัน คือ มองการลงทุนและสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาว, รักษาความเป็นเจ้าของให้มากที่สุดเพื่อสามารถทำในสิ่งที่ต้องการ, เน้นย้ำกับการพัฒนาและการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง, พัฒนาความสัมพันธ์กับผู้ที่มีส่วนได้เสียที่ภักดี สร้างทักษะพิเศษในบุคคลที่เลือกไว้, มีระดับหนี้สินที่ต่ำ, และเน้นการสร้างความมั่นคงทางการงิน. ซึ่งแนวทางของการบริหารในลักษณะนี้สะท้อนได้จากทัศนคติที่เป็นผู้ประกอบการ ซึ่งฝังอยู่ในรากฐานวัฒนธรรมขององค์กรครอบครัว ดังนั้น สมาชิกที่ต้องการมีความสำคัญในบริษัทหรือในครอบครัว สมาชิกดังกล่าวต้องมีความโดดเด่นในการบริหารจัดการเป็นสำคัญ.
อย่างไรก็ดีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งธุรกิจครอบครัวที่ไม่สามารถคิดให้ไกลมากกว่าการคิดแค่เรื่องของการบริหารจัดการจะเริ่มมีความสามารถในการแข่งขันที่ถดถอย. โดยองค์กรธุรกิจเหล่านั้นมักคิดว่าพวกเขาสามารถสร้างนวัตกรรมจากความยุ่งเหยิงที่เป็นอยู่ หรือยังสามารถยึดติดกับสินค้าและกระบวนการดั้งเดิมที่เป็นอยู่ได้. ซึ่งท้ายที่สุด องค์กรดังกล่าวก็จะต้องถูกให้ปรับตัวขนานใหญ่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น.
ทั้งนี้ ยังมีธุรกิจครอบครัวที่สามารถยืนหยัดผ่านจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน ซึ่งองค์กรเหล่านั้นจะมีลักษณะที่พิเศษแตกต่างจากธุรกิจครอบครัวทั่วไป คือ พวกเขามีทักษะในการค้นหาและปรับตัวเพื่อเข้าสู่กิจกรรมที่สร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ ในขณะที่จะทิ้งหรือขจัดกิจกรรมกระบวนการที่บ่อนทำลายมูลค่าออกไป. องค์กรเหล่านี้ไม่ยึดติดกับการประกอบธุรกิจแบบดั้งเดิมที่เป็นมาในอดีตหรือยึดติดกับกระบวนการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ แต่จะสามารถปรับเปลี่ยนตนเองไปยังสิ่งที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับห่วงโซ่คุณค่าได้โดยที่ยังคงรักษาความเป็นเลิศในการจัดการ.
ดังนั้น แนวทางคำแนะนำสำหรับธุรกิจครอบครัวที่ต้องการพัฒนาและรักษาความคิดแบบผู้ประกอบการภายในองค์กร ประกอบด้วย
- พัฒนาพันธกิจของครอบครัวและองค์กรที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างคุณค่าเพิ่มในด้านต่างๆ (เช่น การเงิน, สังคม, ความสัมพันธ์ หรือความมีชื่อเสียง) และดำเนินการตามคุณค่าที่ได้วางไว้.
- ออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้เห็นในมุมมองระดับสูงของตัวบริษัทและของภาพรวมครอบครัว รวมถึงมุมมองของการเปลี่ยนแปลงในขนาด ลักษณะและกิจกรรมของครอบครัว.
- พัฒนาปรับปรุงแผนบูรณาการสำหรับครอบครัวและองค์กรอย่างต่อเนื่องให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงภายนอก.
- พัฒนาบุคคลในครอบครัวและบุคคลภายนอกที่มีความสามารถ เพื่อสนับสนุนในการสร้างคุณค่าให้แก่องค์กรอย่างต่อเนื่อง.
- ปรับองค์กรไปสู่โอกาสใหม่อย่างรอบคอบ สำหรับโอกาสการเติบโตที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่องค์กร โดยใช้การเรียนรู้จากการทดลอง.
- ท้าทายธุรกิจและกิจกรรมต่างๆ ที่บ่อนทำลายคุณค่าในห่วงโซ่กิจกรรมในองค์กร ซึ่งมักยึดติดปฏิบัติต่อกันมาเป็นธรรมเนียม.
- ให้ทำการแยกธุรกิจ การลงทุน การบริหารจัดการ หรือพนักงานที่ไม่ได้ช่วยสร้างคุณค่าออกจากองค์กร. ทั้งนี้ ความจงรักภักดีถือเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม แต่ความภักดีที่มีต่อสินทรัพย์ กิจกรรม หรือผู้คนในครอบครัว ที่ไม่เกี่ยวกับการสร้างคุณค่าหรือพันธกิจขององค์กรเป็นสิ่งที่ไม่สมควร.
ปัญหาหนึ่งของธุรกิจครอบครัว คือ มักจะยึดติดกับธุรกิจหรือการปฏิบัติที่ได้ทำต่อเนื่องกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยไม่สนใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ. จึงเป็นเรื่องสำคัญของธุรกิจครอบครัวที่จะต้องกลับมาพิจารณาและเปิดรับสิ่งใหม่เพื่อให้องค์กรสามารถก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและส่งผ่านธุรกิจไปยังรุ่นต่อๆ ไปได้.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
เรียบเรียงจาก "What Makes a Family Business Last?" by John A. Davis
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น