ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนวโน้มที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้คน โดย เอคเซนเชอร์ (s.38)



มีบทความที่น่าสนใจบทความหนึ่ง โดย "เอคเซนเซอร์" ซึ่งได้คาดการณ์แนวโน้มผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากโรคระบาดที่เกิดขึ้น โดยเป็นแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับเรา 5 ด้านซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมในปัจจุบันและรวมถึงอนาคต ประกอบด้วย

1. ต้นทุนของความมั่นใจ - ผู้คนทั่วไปจะมีความรู้สึกว่าบุคคลหรือสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยอาจถือเป็นภัยที่มองไม่เห็น ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจในการทำกิจกรรมต่างๆ  เช่น การเดินทางพักผ่อนช่วงวันหยุด หรือการเดินทางไปทำงานต่างถิ่น. โดยผู้คนจะเริ่มประเมินความเสี่ยงของสิ่งที่อยู่ห่างออกไปมากขึ้นและเห็นค่าของสิ่งที่คุ้นเคย. ดังนั้น ธุรกิจต่างๆ จึงต้องมีการปรับตัวเพื่อสร้างและฟื้นฟูความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ซึ่งผู้ที่สร้างความมั่นใจและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคจะเป็นธุรกิจที่ผู้คนให้ความเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจกลับมา.

2. ศตวรรษแห่งความเสมือนจริง - การที่เกิดโรคระบาดและถูกทำให้ต้อง lockdown ตนเองอยู่ที่บ้าน เป็นจุดหนึ่งที่ผลักดันให้ผู้คนเข้าสู่โลกเสมือนหรืออนไลน์มากขึ้น ทั้งการสื่อสาร การเรียน การทำงาน การทำธุรกรรม และการบริโภค เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นกับคนทุกเพศและทุกวัย.  ทั้งนี้การที่ผู้คนใช้ดิจิตอลเพิ่มมากขึ้นจะทำให้เกิดความเคยชิน และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตคือการที่ธุรกิจพยายามสร้างโลกแห่งประสบการณ์เสมือนจริงมากขึ้น ทำให้การมีข้อจำกัดลดน้อยลง เพื่อแย่งชิงผู้บริโภคในโลกเสมือนนอกเหนือจากการแข่งขันในโลกจริง.

3. ธุรกิจจะกลายเป็นธุรกิจเพื่อสุขภาพ - แม้โรคระบาดจะเริ่มถูกจำกัดมากขึ้น และผู้คนเริ่มทยอยกลับมาใช้ชีวิตปกติ แต่ความเป็นกังวลเกี่ยวกับสุขภาพนั้น ยังไม่ลดลงเท่าไหร่นัก และมีแนวโน้มที่จะทวีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพจะมีการพัฒนามากขึ้น โดยเราจะได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ และสิ่งเหล่านั้นอาจขยายไปถึงสินค้าทั่วไปที่จะต้องให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพหรือความสะอาดมากขึ้น.

4. ใช้ชีวิตในพื้นที่ส่วนตัว - การที่เราต้องอยู่กับบ้านและใช้เวลาในการทำงานหรือใช้เวลากับครอบครัวมากขึ้น ทำให้หลายคนจะเริ่มคุ้นชินกับการใช้ชีวิตในลักษณะดังกล่าวและรู้สึกถึงความสะดวกสบายและความมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับการต้องออกเดินทางไปทำงาน ผจญกับปัญหาการจราจรและชีวิตที่ยุ่งเหยิงในที่ทำงาน. ประเด็นที่ผู้คนจะให้ความสำคัญต่อไป คือ การใข้ชีวิตในพื้นที่ส่วนตัว พร้อมกับการมองเห็นโอกาสใหม่ๆ สำหรับคนที่มีไอเดียสร้างสรรค์. ผู้ชนะจะเป็นคนที่เน้นโอกาสเกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่บ้าน.

5. การปรับอำนาจบริหารจัดการ - จากที่เราพบเห็นในช่วงวิกฤต รัฐบาลได้เพิ่มอำนาจให้กับส่วนกลางมากขึ้นและใช้อำนาจในการบริหารที่ประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตาม. ดังนั้นหากรัฐบาลบริหารจัดการวิกฤตโดยรวมได้เหมาะสม แนวการควบคุมจากบนลงล่างมีแนวโน้มจะกลับมาอีกครั้ง แต่หากจัดการไม่ดีก็จะกลายเป็นแบบล่างขึ้นบน. ทั้งนี้การปรับอำนาจบริหารอาจจะเกิดขึ้นภายหลังจากที่เริ่มผ่อนคลาย lockdown โดยอาจมีการยอมรับบทบาทของภาครัฐและองค์กรต่างๆ ในสังคมมากขึ้น รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการร่วมมือในการทำงานกันเพิ่มขึ้นในอนาคต.

ดังนั้นองค์กรต่างๆ ควรทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงพฤติกรรมที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อมีตัวเร่งปฏิกิริยาจากวิกฤตโรคระบาดในครั้งนี้ ซึ่งหากธุรกิจมีเตรียมตัวอย่างมีประสิทธิภาพ การฟันผ่าของธุรกิจภายหลังวิกฤตย่อมไม่ยากจะเกินไป.

#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business

สรุปจาก "รับฟัง-ปรับทิศ-เรียนรู้-ประเมินใหม่ รับมือโรคป่วนสูตร เอคเซนเชอร์" กรุงเทพธุรกิจ 12 พ.ค.63

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...