#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . ได้มีการสรุปภาพเศรษฐกิจของคณะกรรมการนโยบายทางการเงิน เมื่อวันที่ 5 พ.ค. โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ 1. เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มการขยายตัวที่ชะลอตัว จากผลของการระบาดโควิดรอบที่ 3 โดยถูกกระทบจากการใช้จ่ายในประเทศที่ชะลอตัวลง และการท่องเที่ยวที่ไม่ฟื้นตัวตามที่เคยประเมินไว้ ทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจจะต่ำกว่าที่เคยประมาณไว้ คือ ขยายตัวประมาณร้อยละ 1-2 2. ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในตอนนี้คือ การส่งออกที่ได้รับอานิสงค์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าและการใช้จ่ายภาครัฐผ่านมาตรการเยียวยา แต่ผลของแรงกระตุ้นยังมีข้อจำกัดนัก โดยผลของมาตรการจากภาครัฐเป็นการกระตุ้นระยะสั้น ให้ผลชั่วคราว และมีผลต่อเศรษฐกิจไม่มาก 3. จากการที่การฟื้นตัวจะมาจากภาคส่งออกเป็นหลัก ทำให้การฟื้นตัวจึงเป็นลักษณะที่กระจุก ไม่กระจาย ตลาดแรงงานยังคงไม่ได้ประโยชน์และยังคงเปราะบางจากปัญหาการว่างงาน 4. ฐานะการเงินของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กทรุดลดมากขึ้นจากวิกฤต กระทบกับความสามารถในการชำระหนี้ทั้งในระดับบริษัทและในระดับบุคคล มาตรการที่สามารถช่วยกระจายสภาพคล่องไปยังธุรกิจจึงมีความสำคัญมาก 5. คณะกรรมการนโยบายการเงิน มองว่าโจทย์สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจในขณะนี้คือ การจัดหาและกระจายวัคซีนให้เพียงพอและทันการณ์ . ทั้งนี้วิกฤตรอบนี้เป็นวิกฤตด้านสาธารณสุข และนโยบายเศรษฐกิจทั้งด้านการเงินและการคลังคือ การเยียวยา ทำได้เพียงประคับประคองผลกระทบที่จะมีต่อภาคธุรกิจและครัวเรือนเท่านั้น แต่จะช่วยแก้วิกฤตโดยตรงไม่ได้. มาตราการระยะสั้นมีควรดำเนินการ ได้แก่ 1.เสริมสร้างระบบสาธารณสุขให้เข้มแข็ง 2.ใช้ยาแรงหยุดการระบาดด้วยการ lockdown จริงจังในพื้นที่ระบาดรุนแรง 3.เน้นให้ประชาชนดูแลตัวเองด้วยการสวมหน้ากาก ล้างมือ และรักษาระยะห่าง. ในส่วนระยะยาว การแก้ปัญหาคือ การเร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมโดยเฉพาะบุคคลากรที่ทำงานภาคสนามที่เป็นกลุ่มเสี่ยง. . ทั้งนี้ วิธีที่จะช่วยภาครัฐได้ดีที่สุด คือ การเปิดเสรีการนำเข้าวัคซีนที่ได้มาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และใช้กลไกตลาดในการกระจายวัคซีน . 🙏🙏 อ้างอิง: 'วิกฤตโควิดรอบสาม' บัณฑิต นิจถาวร หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น