#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business
.
สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง
.
เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดขึ้นของเหตุการณ์นั้นได้
.
ในขณะที่เรื่องของ แรดเทา จะใช้เปรียบเปรยถึงเหตุการณ์ที่มีความเป็นไปได้สูง มีผลกระทบสูง แต่มักถูกละเลย. เหตุการณ์แรดเทามักมีสัญญาณเตือนมาเป็นระยะแต่ผู้คนมักจะละเลยหรือไม่สนใจต่อสัญญาณเตือนเหล่านั้น โดยมีปฏิกิริยาตอบสนอง 5 ประการได้แก่ 1. ปฏิเสธ ไม่ยอมรับว่ามีปัญหา 2. เริ่มยอมรับว่ามีปัญหาแต่ก็ไม่สนใจแก้ไข และชอบหาเหตุผลว่าทำไมถึงยังไม่แก้ไข 3. ยอมรับว่ามีปัญหาอย่างชัดเจน และเริ่มหาทางแก้ไขปัญหา 4. ตื่นตกใจ และ 5. มีแผนและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น.
.
ซึ่งไม่ว่าเหตุการณ์ในปัจจุบันของโควิดจะเข้าค่ายว่าเป็นเรื่อง หงส์ดำ หรือ แรดเทา แต่แนวคิดทั้งสองถือเป็นแนวคิดที่สำคัญในการเตรียมรับกับความเสี่ยงในอนาคต องค์กรต่างๆ ควรได้มีการเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับความเสี่ยงที่ไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีอยู่หรือกำลังจะเกิดขึ้น (หงส์ดำ) รวมถึงเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่เริ่มเห็นแนวโน้มว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น (แรดเทา)
.
🙏🙏
อ้างอิง: 'หงส์ดำ-แรดเทา ความเสี่ยงที่ห้ามละเลย' พสุ เดชะรินทร์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น