#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
. ปัจจุบันเริ่มมีวัคซีนโควิด-19 ทยอยให้ประชาชนได้ฉีดซึ่งถึงแม้ยังมีการฉีดไม่ได้เยอะมาก แต่ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ถึงแม้จะมีการพูดถึงความน่ากลัวของโรคโควิด-19 หรือประโยชน์ของการได้รับวัคซีนในแต่ละยี่ห้อในหลากหลายช่องทางข่าวสารหรือจากการสนทนาต่างๆ แต่สิ่งที่ยังพบเห็นได้ทั่วไปคือความลังเลในการฉีดวัคซีนของผู้คนในสังคม. . ทั้งนี้ ความลังเลดังกล่าวเกิดขึ้นในระดับสากล ไม่เฉพาะในประเทศไทย และเป็นเรื่องที่มีมานานกระทั่ง WHO ตั้งชื่อให้ปรากฏการณ์นี้ว่า Vaccine Hesitancy. ทั้งนี้จากการศึกษาล่าสุดในปี 2564 นี้ พบว่ามีเพียง 50-60% ของประชากรทั่วโลกที่ยอมฉีดวัคซีน ซึ่งตัวเลขจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ. โดยมีงานวิจัยที่ได้เก็บข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์เพื่อหาเหตุผลหรือประเด็นหลักที่ทำผู้คนยังลังเลที่จะฉีดรับวัคซีนโควิด-19 สรุปได้ดังนี้ . 1. ได้รับข้อมูลผิดพลาด - ประชาชนกลุ่มนี้ได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด หรือข้อมูลที่ไม่มีหลักฐานอ้างอิง ทำให้คิดว่าไม่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีน 2. ความปลอดภัย - ความกังวลในความปลอดภัยและประสิทธิผลของวัคซีน รวมถึงความกังวลว่าวัคซีนจะก่อให้เกิดอันตรายมากกว่าข้อดี 3. ทฤษฎีสมคบคิด - คนกลุ่มนี้เป็นพวกที่มีจินตนาการสูงและมองว่าวัคซีนที่ออกนั้น เพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม 4. ความไม่ไว้วางใจ - เป็นความไม่ไว้ใจต่อบริษัทที่ผลิตวัคซีน นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ หรือแม้กระทั่งรัฐบาล 5. เสรีภาพในการตัดสินใจ - มองว่าเสรีภาพเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่จะเลือกว่าฉีดหรือไม่ รวมถึงเลือกชนิดของวัคซีนที่จะฉีด . แนวทางข้อเสนอแนะแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้ประชาชนลดความลังเลและพร้อมฉีดวัคซีนมากขึ้นทำได้โดย ปรับปรุงการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง การใช้ Influencer ที่เป็นที่เชื่อถือในสังคม การมุ่งเน้นประเด็นของวิทยาศาสตร์และการแพทย์มากกว่าการเมือง และการพยายามชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของวัคซีนต่อตนเองและครอบครัว คนที่เรารัก 🙏🙏 อ้างอิง: 'ความลังเลในการฉีดวัคซีน มาจากไหน?' พสุ เดชะรินทร์ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น