#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ รายงานความเหลื่อมล้ำโลกฉบับล่าสุด จัดทำโดย World Inequality Lab ที่รวบรวมงานวิจัยของนักวิชาการแขนงต่างๆ กว่า 100 คน สามารถสรุปประเด็นสำคัญของปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยมีรายละเอียดดังนี้
➼ (1) กลุ่มคน 50% ล่าง ในการกระจายรายได้ของโลกปี 2021 มีสัดส่วนรายได้เพียง 15% เทียบกับกลุ่มรวยสุด 10% แรกที่มีสัดส่วนรายได้ถึง 40% โดยความเหลื่อมล้ำยิ่งรุนแรงในแง่ความมั่งคั่งหรือทรัพย์สิน คือ กลุ่ม 50% ล่างมีสัดส่วนถือครองทรัพย์สินเพียง 2% ในขณะที่กลุ่มคนรวยสุด 10% แรกเป็นเจ้าของสินทรัพย์ถึง 76%
➼ (2) ปี 2021 คนหนุ่มสาวในวัยทำงานมีรายได้เฉลี่ย 23,380 USD ต่อปี หรือประมาณ 60,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่หนุ่มสาวในกลุ่มรวยสุด 10% แรกจะมีรายได้เฉลี่ย 122,120 USD ต่อปี หรือประมาณ 305,3000 บาทต่อเดือน ขณะที่รายได้เฉลี่ยของคนกลุ่ม 50% ล่างจะเท่ากับ 3,920 USD ต่อปี หรือประมาณ 9,800 บาทต่อเดือน ต่างกันกว่า 30 เท่า
➼ (3) แยกตามภูมิภาค ความเหลื่อมล้ำมีสูงสุดในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ตามด้วยประเทศในทวีปแอฟริกา ละตินอเมริกาและเอเชียใต้รวมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. ที่น่าสนใจคือ ความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศมีแนวโน้มลดลง แต่ความเหลื่อมล้ำภายในประเทศรุนแรงขึ้น
➼ (4) กมคนรวยสุด 10% แรกส่วนใหญ่คือคนชั้นกลางในประเทศอุตสาหกรรมและกลุ่มคนรวยในประเทศกำลังพัฒนา
➼ (5) สองนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2019 Abhijit Banerjee และ Esther Duflo ให้ความเห็นในรายงานฉบับนี้ว่าตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงประมาณปี 1990 เศรษฐกิจโลกเติบโตพร้อมความเหลื่อมล้ำในระบบเศรษฐกิจโลกที่ลดลง เป็นผลจากอุดมคติร่วมกันของภาครัฐเอกชนและภาคประชาสังคมที่ไม่ต้องการเห็นความเหลื่อมล้ำในระบบเศรษฐกิจแย่ลงหรือรุนแรงขึ้น. อย่างไรก็ดี แนวคิดดังกล่าวได้เปลี่ยนในยุคของประธานาธิบดีเรแกนในสหรัฐ และรัฐบาลมากาเร็ต แทชเชอร์ ในอังกฤษ ที่มองนโยบายด้านการกระจายว่าเป็นตัวฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจ
➼ (6) ความมั่งคั่งเป็นกลไกหรือเครื่องยนต์ที่จะสร้างให้ความมั่งคั่งยิ่งมีมากขึ้น รวมทั้งสร้างอำนาจและอิทธิพลทางการเมือง ทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำจะยิ่งรุนแรงขึ้นถ้าไม่มีการแก้ไข โดยเฉพาะถ้าความมั่งคั่งกระจุกอยู่ในมือของคนจำนวนน้อย
➼ (7) รายงานให้ตัวอย่างของมาตรการเก็บภาษีทรัพย์สินกลุ่มคนที่รวยมากคิดเป็นร้อยละของทรัพย์สินที่มี โดยเก็บอัตราก้าวหน้าว่าเป็นข้อเสนอที่มีความเป็นไปได้มาก ทั้งในแง่การลดความเหลื่อมล้ำและในแง่รายได้ภาษีที่รัฐบาลจะนำมาใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เศรษฐกิจโลกมี
.
อ้างอิง: "เปิดรายงานความเหลื่อมล้ำโลก ปี 2022" บัณฑิต นิจถาวร, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น