#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ เป้าหมายหลักของผู้ประกอบการที่วางแผนจะนำเมตาเวิร์สมาใช้ ส่วนใหญ่มักจะเน้นไปที่การหาโอกาสทางธุรกิจรูปแบบใหม่ในตลาดผู้บริโภค หรืออาจเป็นการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่บนโลกเสมือน เป็นต้น
➼ นอกจากนี้ เทคโนโลยีเมตาเวิร์สยังมีศักยภาพที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การออกแบบสินค้า การจัดซื้อจัดหา การผลิต รวมถึงการบริหารจัดการคลังสินค้า
➼ แนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเมตาเวิร์สในส่วนของห่วงโซ่อุปทานยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีแอพพลิเคชั่นเพิ่มขึ้นได้อีกในอนาคต โดยการประยุกต์ใช้ที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน ได้แก่ (i) การออกแบบสินค้า - โดยเป็นการเพิ่มประสบการณ์การออกแบบที่ยืดหยุ่นผ่านการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 3 มิติในลักษณะ Digital Twin ให้ผู้ร่วมออกแบบที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกันสามารถทำงานร่วมกัน พร้อมกันได้
➼ (ii) การจัดซื้อจัดหา - เป็นการเชื่อมโยงกับผู้ผลิตชิ้นส่วนในแต่ละลำดับชั้น (Tier) ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะการแชร์ต้นแบบ 3 มิติ เพื่อสรรหาผู้ผลิตในแต่ละ Tier ที่เหมาะสม (iii) การผลิต - ผู้ประกอบการอาจสร้างโรงงานเสมือนในเมตาเวิร์ส เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของการบริหารสายงานการผลิต โดยอาจเป็นการสั่งการผ่านเครื่องจักรเสมือนที่เชื่อมโยงกับเครื่องจักรในโลกจริง หรือแม้แต่การซ่อมบำรุงระยะไกลโดยผู้เชี่ยวชาญที่ห่างไกลผ่านเมตาเวิร์ส
➼ (iv) การบริหารคลังสินค้า - โดยสร้างคลังสินค้าเสมือนใน Digital Twin ซึ่งมีทั้งสินค้า อุปกรณ์เคลื่อนย้ายสินค้าและชั้นวางสินค้า ผู้ประกอบการสามารถอาศัยคลังสินค้าเสมือนช่วยออกแบบและทดลองเลย์เอาท์การจัดวางก่อนจะใช้งานจริงในโลกจริง
➼ ทั้งนี้การประสบความสำเร็จในการลงทุนเมตาเวิร์สมาใช้ในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการผลิต นอกจากเงินลงทุนและความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการพันธมิตรแล้ว ยังต้องคำนึงถึงระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลทางธุรกิจ และจำเป็นต้องวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนที่จะได้รับเชิงธุรกิจ เพื่อจัดลำดับความคุ้มค่าของการลงทุนได้เหมาะสม
อ้างอิง: "เมตาเวิร์ส แนวทางประยุกต์ใช้ในอุตฯ การผลิต" ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น