#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
.
➼ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า จากการทำการสุ่มตัวอย่างพบกลุ่มอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงอาจจัดได้เป็น 6 ประเภทเรียงตามลำดับปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งบรรจุภัณฑ์จากมากได้น้อยตามลำดับ ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่เย็น/แช่แข็ง โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป อาหารปรุงสำเร็จแบบ Shelf Stable ปลากระป๋อง และขนมขบเคี้ยว. โดยมีการประเมินว่ามูลค่าตลาดของสินค้ากลุ่มนี้ในปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 88,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 18% ของมูลค่าตลาดอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูปทั้งหมด
➼ ในการพิจารณาการจัดเก็บภาษีความเค็มของภาครัฐนั้น แนวทางที่เป็นไปได้คือ การจัดเก็บจากผู้ผลิตอาหารโดยตรง และใช้อัตราภาษีแบบขั้นบันไดตามปริมาณโซเดียม กล่าวคือ เค็มมากเก็บภาษีมาก.
➼ การเก็บภาษีความเค็มดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มซึ่งขึ้นกับหลายปัจจัยได้แก่ อัตราภาษี กรอบเวลาการบังคับใช้ สภาพการแข่งขันของตลาด และความยืดหยุ่นในการปรับตัวของผู้ผลิต. ซึ่งแม้ว่าการจัดเก็บภาษียังอยู่ระหว่างการพิจารณาแต่แนวโน้มผู้บริโภคที่หันมาเลือกซื้ออาหารสุขภาพและให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้นก็ถือเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้ประกอบต้องเร่งปรับตัว
➼ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่น่าจะมุ่งเน้นที่การปรับสูตรอาหารให้มีปริมาณโซเดียมลดลง หรือการใช้เกลือโซเดียมต่ำทดแทน โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอย่างอาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่เป็นอาหารพื้นฐานและมีข้อจำกัดในการปรับเพิ่มราคา
➼ ส่วนสินค้ากลุ่มที่มีราคาสูง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีราคาต่อหน่วยตั้งแต่ 25 บาทขึ้นไป อาหารแช่เย็น/แช่แข็งแบบพรีเมียม ผู้ประกอบการอาจผลักภาระต้นทุนภาษีไปสู่ราคาสินค้าได้บางส่วน
อ้างอิง: "ภาษีความเค็ม ท้าทายตลาดอาหารโซเดียมสูง" บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น