#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
.
➼ ความหลากหลายของกรรมการในคณะกรรมการบริษัท หรือเรียกว่า Board Diversity เป็นหัวข้อสำคัญที่หลายประเทศให้ความสนใจในช่วงหลายปีที่ผ่านมา. โดยความหลากหลาย มีหลายความหมายตั้งแต่ ความหลากหลายของเชื้อชาติ เพศ อายุ รวมถึงความหลากหลายขององค์ความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์
➼ แต่ละประเทศจะมีจุดที่ให้ความสนใจในประเด็นเรื่องความหลากหลายแตกต่างกันออกไป เช่น ในสหรัฐอเมริกา ความหลากหลายทางเชื้อชาติและจำนวนกรรมการที่มีเชื้อชาติประชาชนกลุ่มน้อยในคณะกรรมการถือเป็นประเด็นที่สำคัญ และถูกพูดถึงกันมากกว่าในประเทศอื่น
➼ นอกจากนี้ สหรัฐเริ่มมีการออกกฏเกี่ยวกับความหลากหลายของกรรมการในคณะกรรมการในลักษณะเชิงบังคับ เช่น ในรัฐแคลิฟอร์เนียกำหนดให้บริษัทที่มีสำนักงานหลักของผู้บริหารในรัฐต้องมมีกรรมการผู้หญิงอย่างน้อย 1 คนภายในปี 2562 ในภายในปี 2564 ให้มีกรรมการผู้หญิงอย่างน้อย 2 คน.
➼ ประเทศในยุโรปก็มีความพยายามที่จะเพิ่มส่วนของกรรมการผู้หญิงเช่นเดียวกัน เห็นได้จากตัวอย่าง เช่น ประเทศเยอรมนีได้ออกคำแนะนำขอให้มีการปรับปรุงในเรื่องความหลากหลายของคณะกรรมการ
➼ ในประเทศไทยของเรา เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ถือว่าบริษัทจดทะเบียนไทยมีจำนวนกรรมการที่เป็นผู้หญิงไม่น้อยหน้าประเทศอื่นๆ. อย่างไรก็ดี ภายใต้กระแสของ ESG และความยั่งยืนที่เป็นประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจ บริษัทต่างๆ ทั่วโลกต้องอาจพิจารณาปรับโครงสร้างของคณะกรรมการบริษัทเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางดังกล่าวมากขึ้น
.
อ้างอิง: "ความหลากหลายของกรรมการบริษัทในสหรัฐ-ทวีปยุโรป" ภาณุพันธุ์ อุดมสุวรรณกุล และ ภูมิภัทร อุดมสุวรรณกุล, กรุงเทพธุรกิจ
บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน. ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น