#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ องค์กรเอกชน World Inequality Lab ก่อตั้งขึ้นในนครปารีส ได้พิมพ์การการศึกษาเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำของประชากรโลกออกมา ชื่อ World Inequality Report 2022 ซึ่งเป็นการตีพิมพ์หลังจากการพิมพ์หนังสือของนักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Thomas Piketty เมื่อปี 2556 ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง
➼ นักวิชาการได้คำนวณว่าชาวโลกมีรายได้เฉลี่ยคนละ 16,700 ยูโร (ประมาณ 626,250 บาท หรือ 52,200 บาท ต่อเดือน) และครอบครองทรัพย์สินคนละ 72,900 ยูโร (ประมาณ 2.73 ล้านบาท)
➼ ผู้ที่มีความมั่งคั่งสูงสุด 10% ของชาวโลกครอบครองทรัพย์สินรวมกันเท่ากับ 76% ของทรัพย์สินโลก และมีรายได้เฉลี่ยคนละ 87,200 ยูโร ในขณะที่ผู้มีความมั่งคั่งต่ำสุด 50% ของโลกครอบครองเพียง 2% ของทรัพย์สินโลกและมีรายได้คนละ 2,800 ยูโร
➼ ทั้งนี้ โลกมีความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นทั้งในด้านรายได้และในด้านการครอบครองทรัพย์สิน นอกจากนั้นยังยืนยันว่าในช่วงเวลาที่โลกกำลังถูกคุกคามด้วยไวรัสโควิด-19 มหาเศรษฐีที่มีทรัพย์สินระดับพันล้านยูโรร่ำรวยมากขึ้นแบบก้าวกระโดด ในขณะที่ชาวโลกอีกนับร้อยล้านคนยากจนลงถึงขั้นอดอยาก
➼ สำหรับประเทศไทย ในการจัดประเทศเป็น 5 กลุ่มจากประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำต่ำสุดไปถึงสูงสุด ไทยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ 4 กล่าวคือภาวะที่ไม่ได้เลวร้ายเท่าความเหลื่อมล้ำในหลายประเทศในตะวันออกกลาง แอฟริกา และอเมริกาใต้ แต่ยังอย่างไกลจากภาวะในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำต่ำสุดในแถบยุโรปตะวันตก
➼ นโยบายที่นำเสนอในการลดความเหลื่อมล้ำ ได้แก่ การเก็บภาษีทรัพย์สินในอัตราก้าวหน้าเช่นเดียวกับการเก็บภาษีรายได้และการเข้มงวดในการป้องกันการหลบเลี่ยงภาษีของบรรดามหาเศรษฐีของโลก โดยประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาได้บ่งบอกว่าความเหลื่อมล้ำนำไปสู่ความขัดแย้งร้ายแรงมาก และสิ่งที่ทำให้ความเหลื่อมล้ำลดลง ได้แก่ สงคราม กับความถดถอยอย่างหนักของเศรษฐกิจ ซึ่งทำลายทรัพย์สินซึ่งส่วนใหญ่ถือครองโดยคนรวย
อ้างอิง: "จะใช้สงครามแก้ความเหลื่อมล้ำโลก ?" ไสว บุญมา, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น