#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ สำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) โดยเฉลี่ยของครัวเรือนไทยอยู่ในจุดใกล้เส้นยาแดงที่ระดับ 30% มาตั้งแต่ก่อนเกิดโควิด (ปี 2562) ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวถือเป็นจุดวกกลับที่การก่อหนี้จะเปลี่ยนบทบาทจากการกระตุ้นเป็นการฉุดรั้งการบริโภคของครัวเรือน
➼ โควิดในช่วง 2563-2564 เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ทำให้สัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้เฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้นเกินระดับ 30% จนทำให้ภาระหนี้กลายเป็นปัจจัยฉุดรั้งการบริโภคและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
➼ การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันแก้ไข โดยต้องมีการแก้ไขใน 3 เรื่องควบคู่กัน ได้แก่ (1) เพิ่มรายได้ของครัวเรือน - เพราะตราบใดที่ครัวเรือนยังมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องก่อหนี้เพื่อนำไปใช้จ่าย
➼ (2) ปลดหนี้เดิม - ในช่วงที่ผ่านมา หลายหน่วยงานได้ริเริ่มมาตรการต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ทยอยปรับตัวและหลุดพ้นจากปัญหาหนี้ที่ประสบอยู่ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ผลักดันโครงการ อาทิเช่น การปรับโครงสร้างหนี้ คลินิกแก้หนี้ และโครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน
➼ (3) สร้างความตระหนักรู้ทางการเงินให้กับครัวเรือน - เพื่อไม่ให้เกิดการใช้จ่ายและการก่อหนี้ที่เกินตัว มีความตระหนักถึงความสำคัญของการออมและการลงทุน รู้จักวางแผนการเงินและบริหารความเสี่ยง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของหลายภาคส่วนที่ต้องทำร่วมกัน
อ้างอิง: "หนี้ครัวเรือน ปัญหาที่ต้องร่วมด้วยช่วยกันแก้" รชต ตั้งนรารัชชกิจ, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น