#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
จากการที่โควิด-19 ได้มีการระบาดในระลอก 3 ถือเป็นสิ่งที่ยิ่งซ้ำเติมกับประชาชนและภาคธุรกิจให้ได้รับผลกระทบหนักกว่าการระบาดของโควิดในรอบที่ผ่านมา โดยเฉพาะผลกระทบต่อฐานะการเงินของครัวเรือน จากรายได้และยอดขายที่ลดลง แต่ค่าใช้จ่ายกลับไม่ได้ลดตาม. โดยข้อมูลเดือน มิ.ย.64 พบว่ายอดจำนวนบัญชีสินเชื่อต่อรายได้เพิ่มเป็น 2.2% เทียบกับ 2.1% ในเดือน มี.ค.64 ในขณะที่ภาระหนี้ต่อรายได้ของผู้กู้เพิ่มเป็น 46.9% จาก 42.8%
.
เมื่อพิจารณาสัดส่วนของกลุ่มที่ภาวะการเงินกำลังวิกฤตพบว่าขยับขึ้นเป็น 22.1% เพิ่มจาก 10.8% ซึ่งมาจากสถานการณ์รายได้ ค่าใช้จ่ายของประชาชนในกลุ่มที่รายได้ลดลง และภาระหนี้สูงขึ้นเกิน 50%. นอกจากนี้ การขอรับการช่วยเหลือทางการเงินจากสถาบันการเงินก็เพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน โดยเพิ่มเป็น 39.1% จาก 23.2% และคาดว่าหลังโควิดระลอก 3 จะมีลูกหนี้เข้ามาขอรับการช่วยเหลือเพิ่มถึง 52.1%. ในประเด็นของหนี้เสีย ยังมีมาตรการในการดูแลลูกหนี้ของธนาคาร ซึ่งช่วยประคองไม่ให้ NPL สูงขึ้นมากนัก แต่ทั้งนี้ควรต้องติดตามสถานการณ์ในช่วง 1-3 ปีข้างหน้าหลังจากจบโควิคอีกครั้ง.
.
สำหรับโจทย์เศรษฐกิจของประเทศยังมีโจทย์เฉพาะหน้าที่ต้องเผชิญ 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ (1) ภาระทางการคลัง จากการกู้ยืมและขาดดุลงบประมาณ คาดว่าจะทำให้หนี้สาธารณะต่อ GDP ขึ้นถึง 60% ในระยะข้างหน้า (2) เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมาในช่วงที่เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว (3) หนี้สินภาคครัวเรือน ที่มีความกังวลเพิ่มขึ้นในกลุ่มเปราะบาง และ (4) ต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น อันส่งผลต่อภาคการค้า.
.
🙏🙏
อ้างอิง: 'ครัวเรือนไทย เสี่ยงวิกฤตหนี้ โควิดระลอก3 ยอดภาระเกิน 50% พุ่ง' กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น