#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
ความฉลาดทางอารมณ์ หรือที่เรามักเรียกกันว่า "EQ" "Emotional Quotient" หรือ "Emotional Intelligence" หมายถึงความสามารถในการบริหารจัดการและสื่อสารทางอารมณ์ของเราอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง EQ นี้จะแตกต่างจาก IQ ที่เรามักกล่าวกันมากในอดีต. โดยที่บุคคลจะมีสติปัญญาที่ดี หรือ IQ ที่ดีนั้น อาจมาจากการได้รับการศึกษาที่ดี หากแต่ความสำเร็จในชีวิตของเรานั้นมักไม่ได้มาจากการที่มี IQ ที่ดีเพียงอย่างเดียว แต่ EQ จะเป็นตัวส่งเสริมให้เราสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่วางไว้ได้.
.
โดย EQ นั้นประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลัก ได้แก่ การตระหนักรู้อารมณ์ตนเอง การบริหารจัดการอารมณ์ตนเอง การกระตุ้นตนเอง การตระหนักรู้อารมณ์ผู้อื่น และ การบริหารความสัมพันธ์กับผู้อื่น. ทั้งนี้ การตระหนักรู้อารมณ์ตนเอง นั้นถือเป็นความสำคัญพื้นฐานในการใช้ชีวิต. โดยคนเราควรรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองเพื่อควบคุมมิให้ตนเองมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือขัดแย้งกับอารมณ์ความรู้สึกได้.
.
เมื่อเราตระหนักรู้อารมณ์ตนเองแล้ว เราต้องสามารถบริหารจัดการอารมณ์และพฤติกรรมของตนเองได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งคนดังกล่าวมักจะเป็นผู้ที่เปิดใจกว้าง ยอมรับและปรับตัวอย่างรวดเร็วในทุกสถานการณ์. การกระตุ้นตนเอง คือ การให้กำลังใจตนเองด้วยการนำอารมณ์ ความรู้สึกที่มีมาสร้างเป็นพลังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติภารกิจ.
.
นอกจากการพิจารณาในตนเองแล้ว เรายังต้องตระหนักรู้ถึงอารมณ์ ความรู้สึกของคนรอบข้างด้วย หรือการที่เราเอาใจเขามาใส่ใจเรานั่นเอง ซึ่งเมื่อเราเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกของผู้อื่นแล้ว สิ่งนี้ก็จะส่งผลให้เราสามารถบริหารความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างดีขึ้นด้วย. บุคคลที่มีความสามารถในการบริหารความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้เป็นอย่างดีนั้น มักเป็นบุคคลที่มีการสื่อสารที่ดี ชัดเจนและถูกต้อง สามารถโน้มน้าวจูงใจบุคคลอื่นให้คล้อยตามความเห็นได้อย่างนุ่มนวลและแนบเนียน.
.
🙏🙏
อ้างอิง: 'EQ... สิ่งที่ต้องมี' วิษณุ วงศ์สินศิริกุล หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น