#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
ประเด็นเรื่องหนี้เถือเป็นประเด็นที่ใหญ่และกระทบในทุกภาคส่วนทั้งในระดับครัวเรือน ระดับธุรกิจ หรือแม้กระทั่งภาครัฐ โดยเฉพาะยิ่งในช่วงที่ภาวะโควิด-19 ยังระบาดอยู่ในหลายประเทศ ทำให้ประเด็นเรื่องหนี้กับความสามารถในการชำระหนี้ได้กลายมาเป็นหัวข้อให้ถกเถียงกันอย่างแพร่หลาย. ทั้งนี้สถานการณ์หนี้ในปัจจุบันของภาคส่วนต่างๆ สามารถแจกแจงได้ดังนี้
.
ภาคครัวเรือน - โดยหนี้ภาคครัวเรือนของประเทศไทย จากตัวเลขของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ระบุอยู่ที่ระดับร้อยละ 89.3 ของรายได้ประชาชาติ ซึ่งถือว่าสูงมาก และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 91 ในสิ้นปีนี้. หนี้ครัวเรือนตัวที่ใหญ่ คือ หนี้บัตรเครดิตและหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งคิดเป็นมากกว่าร้อยละ 50 ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนจะมีความอ่อนไหวมากเมื่อผู้กู้รายได้ลดลงหรือขาดรายได้. นอกจากนี้ ได้มีการประมาณการจำนวนผู้ว่างงานสูงถึง 2.7-2.9 ล้านคนสิ้นปีหน้า ซึ่งจะยิ่งส่งผลถึงความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนยิ่งขึ้น.
.
ภาคธุรกิจ - ระดับหนี้ในปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 143 ของรายได้ประชาชาติ ซึ่งพิจารณาว่าสูง. อย่างไรก็ดี หนี้ภาคธุรกิจจะมีสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืม ทำให้การผิดนัดเป็นเรื่องที่เจรจาปรับเงื่อนไขหรือปรับโครงสร้างหนี้ได้. นอกจากนี้วิกฤตครั้งนี้ ปัญหาหนี้จะตกอยู่กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กเป็นหลัก โดยเฉพาะธุรกิจบริการ จากความไม่แน่นอนของรายได้.
.
ภาครัฐ - ในวิกฤตครั้งนี้ ภาครัฐได้กู้เงินเพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้เยียวยาประชาชน โดยตัวเลขหนี้สาธารณะของประเทศไทยคงเพิ่มขึ้นใกล้เคียงเพดานสูงสุดของหนี้สาธารณะที่รัฐบาลจะกู้ได้ หรือร้อยละ 60 ของรายได้ประชาชาติ. ในขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาด้านรายได้พบว่าภรายได้ภาษีที่รัฐจัดเก็บก็ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ ทำให้รัฐบาลมีข้อจำกัดมากขึ้นในการชำระหนี้.
.
ทั้งนี้ ทุกวิกฤตเศรษฐที่เกิดขึ้นมักมีต้นเหตุมาจากการสร้างหนี้ที่เกินกำลังทั้งสิ้น โดยสำหรับประเทศไทยเราขณะนี้ปัญหาสำคัญคือ เศรษฐกิจไม่ขยายตัว การว่างงานเพิ่มขึ้นและหนี้ครัวเรือนสูง. ดังนั้นนโยบายเศรษฐกิจที่ตรงเป้าจากประสบการณ์การแก้ไขปัญหา และมีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ จะช่วยนำประเทศไปสู่ความสำเร็จในการแก้ปัญหา ซึ่งจะดีกว่านโยบายที่มาจากเหตุหรือแรงผลักดันทางการเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์.
.
🙏🙏
อ้างอิง: 'เศรษฐกิจมีหนี้ แต่ไม่มีรายได้ แก้อย่างไร' บัณฑิต นิจถาวร กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น