#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
มีดัชนีของมูลนิธิช่วยเหลือการกุศล (Charity Aid Foundation: CAF) ได้แสดงดัชนีที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคโดยจัดประเทศไทยให้อยู่ในกลุ่ม 10 ประเทศต้นๆ ที่มีการบริจาคเงินสูงสุด. โดยเป็นการวัดการบริจาคทั่วโลกด้วยตัวชี้วัด 3 ตัว ได้แก่ (1) การให้ความช่วยเหลือคนแปลกหน้า (2) การบริจาคเงินเพื่อสาธารณประโยชน์ และ (3) การให้เวลากับการอาสาสมัคร.
.
สำหรับคนไทยแล้ว การบริจาคเงินจะเป็นสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับการบริจาคแรง นอกจากนี้ในส่วนของการช่วยเหลือคนแปลกหน้า และ เรื่องของอาสาสมัคร ดัชนีของคนไทยในส่วนดังกล่าวจะอยู่ในระดับต่ำมาอย่างต่อเนื่อง. โดยข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมประจำปี ในช่วง 2554-2559 พบว่ามูลค่าบริจาคของครัวเรือนเพิ่มจาก 65,980 ลบ. เป็น 88,416 ลบ. ซึ่งสูงกว่างบประมาณของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ในปีเดียวกัน ซึ่งมีงบประมาณเพียง 10,379 ลบ.
.
จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2554 พบว่าคนประมาณ 93% บริจาคเงินเพื่อกิจกรรมทางด้านศาสนา แต่การบริจาคในรูปแบบการให้เงินหรือสิ่งของกับคนนอกครัวเรือน และ การบริจาคให้กับองค์กรการกุศลจัดอยู่ในลำดับที่ต่ำกว่ามาก. โดยการบริจาคในรูปแบบที่เป็นทางการ หรือการบริจาคให้กับองค์กรการกุศล มูลนิธิและองค์กรไม่แสวงหากำไรกลับได้รับบริจาคเพียง 17.8% ของกลุ่มครัวเรือนตัวอย่าง.
.
ทั้งนี้วัฒนธรรมการบริจาคเพื่อการกุศลของคนไทย มักเน้นแต่เรื่องของศาสนาและการศึกษา ซึ่งมุ่งเน้นในเรื่องของการทำความดีแทนที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคต นอกจากนี้ยังมีปัจจัยของการลดหย่อนภาษีซึ่งทำให้เกิดแรงจูงใจในการบริจาคดังกล่าว. อย่างไรก็ดี แนวโน้มของคนรุ่นใหม่จะเน้นเป็นการบริจาคให้แก่องค์กรที่ทำงานให้สังคมดีขึ้น เช่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การพัฒนาเด็กและเยาวชน ซึ่งการขับเคลื่อนดังกล่าวควรมีการส่งเสริมด้วยมาตรการทางภาษีให้ขึ้นอันจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาทางสังคมได้อีกทางหนึ่ง
.
🙏🙏
อ้างอิง: 'การบริจาคเพื่ออนาคต' โรซาเลีย ซิออติโน กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น