#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
สถานการณ์โควิด-19 ในหลายภูมิภาคทั่วโลกเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะที่รัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ มีการกระจายการฉีดวัคซีนอย่างถ้วนหน้า ซึ่งทำให้สภาพเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มมีความหวังที่จะกลับสู่ภาวการณ์ฟื้นตัวโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564 นี้. ทั้งนี้ ปัจจุบันพบว่าทั่วโลกมีจำนวนผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วกว่า 1,450 ล้านโดส (ข้อมูล ณ 17 พ.ค.64) ทำให้ความเชื่อมั่นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น ในขณะที่ IMF ได้มีการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปีนี้ว่าจะขยายตัวสูงถึง 6.0% ซึ่งถือว่าขยายตัวสูงมาก. อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มก่อตัวขนานกับการฟื้นตัวที่เกิดขึ้นซึ่งต้องจับตามเฝ้าระวัง ได้แก่
.
ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น - จากการที่หลายประเทศเริ่มทำการผ่อนคลาย lockdown และออกมาตรการทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้มีแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงเป็นประวัติการณ์ ทำให้เกิดความกังวลในการที่อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะบั่นบอนเสถียรภาพและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า.
.
ต้นทุนทางการเงินที่ขยับเพิ่มขึ้น - เศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นกลับมา ประกอบกับตัวเลขทางเศรษฐกิจและการคาดการณ์เงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาที่เร่งตัวขึ้น ทำให้นักลงทุนเริ่มคิดว่า Fed อาจจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและลดขนาดของ QE เร็วกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้าเพื่อลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นการซ้ำเติมภาคธุรกิจที่ยังคงอ่อนแอและอาศัยการระดมทุนผ่านตลาดการเงินเป็นหลัก ขณะเดียวกันยังก่อให้เกิดความผันผวนต่อกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายและตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลก
.
ความเสี่ยงขอภาวะฟองสบู่ - ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา สินทรัพย์ต่างๆ ได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากจุดต่ำสุดเมื่อเดือน มี.ค.63 ที่โควิด-19 เริ่มระบาดในวงกว้าง. สถานการณืที่สินทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้มีความกังวลว่าอาจเกิดภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์บางประเภท ซึ่งอาศัยการเก็งกำไรจากความหวังในอนาคตมากกว่าความสามารถในการทำกำไรในปัจจุบัน.
.
สรุป แม้ภาพรวมทางเศรษฐกิจจะเริ่มเห็นสัญญาณที่ฟื้นตัว ซึ่งประเทศไทยก็ได้รับอานิสงค์โดยตรงจากากรฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกดังกล่าวเช่นกัน โดยเห็นได้จากมูลค่าการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัวขึ้น อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวก็มาพร้อมกับความเสี่ยงควบคู่ที่ได้กล่าวไปแล้วด้วยเช่นกัน ผู้ประกอบการจึงควรติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดในช่วงที่เปราะบางเช่นนี้ เพื่อให้สามารถตัดสินใจดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถผ่านพ้นในช่วงความไม่แน่นอนเช่นนี้ไปได้.
.
🙏🙏
อ้างอิง: 'ความเสี่ยงคู่ขนาน..ที่แทรกตัวอยู่ในเศรษฐกิจปีฉลู' EXIM E-News
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น