#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . จากสภาพแวดล้อมของโลกในปัจจุบันที่มีการเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อม มลภาวะ ในหลายประเทศ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมากลุ่มการลงทุนที่รับผิดชอบ ภายใต้การสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ (United Nations - supported Principles for Responsible Investment: PRI) ได้มีการประเมินนโยบายสาธารณะด้านความยั่งยืนที่น่าจะเกิดขึ้นในช่วงปี 2021 นี้ . 1. กลไกการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดนจะถูกนำมาใช้จริงมากขึ้น - ทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีการประกาศราคาคาร์บอนภายในปี 2025 หรือเร็วกว่านั้น
2. การทำความกรอบความยั่งยืนของสหภาพยุโรปจะผลักดันราคาคาร์บอน - นโยบายของสหภาพยุโรปที่แนวโน้มที่จะทำให้ราคาคาร์บอนเพิ่มมากขึ้นที่ EU ETS ขั้นต่ำที่ 75 เหรียญ/ตันคาร์บอน โดยสำหรับประเทศไทยของเราที่กระบวนผลิตสินค้าส่งออกไปให้สหภาพยุโรป มีส่วนที่ใช้ไฟฟ้าที่มาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งจะทำให้เกิดต้นทุนด้านภาษีที่ต้องจ่ายแพงขึ้น
3. รัฐบาลอินเดียประกาศในเรื่องของการหยุดลงทุนสร้างเหมืองและโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่
4. จีนหยุดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่อย่างสิ้นเชิงภายหลังปี 2025 - เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็น 0 ภายในปี 2060
5. สหรัฐอเมริกาจะยกเลิกการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินทั้งประเทศภายในปี 2030 - โดยเป็นการบังคับใช้มาตรฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผสมกับการตั้งราคาคาร์บอนในระดับรัฐบาลกลางและรัฐบาลมลรัฐ
6. สหรัฐอเมริกาบังคับใช้มาตรฐานพลังงานสะอาดที่น่าเชื่อถือและมีผลทางกฎหมายภายในปี 2040
7. จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และเกาหลีใต้จะยกเลิกการขายรถยนต์และรถตู้ที่ใช้น้ำมันภายในปี 2035 - โดยผลักดันการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมไปสู่ระบบรถยนต์ไฟฟ้า
8. ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ ซึ่งรวมถึงสหรัฐอเมริกา เยอรมัน ญี่ปุ่นและจีน จะบังคับให้โรงงานอุตสาหกรรมทุกชนิดเป็นโรงงานคาร์บอนต่ำภายใน 2040 - ผ่านการใช้มาตรฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการตั้งราคาคาร์บอน
9. สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรรายใหญ่จะมีนโยบายบรรเทาผลกระทบที่เป็นระบบภายในปี 2025 - เพื่อลดผลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตพืชอาหารและปศุสัตว์
10. ประเทศที่มีป่าเขตร้อนขนาดใหญ่จะหยุดตัดไม้ทำลายป่าภายในปี 2050 - โดยจะเป็นปฏิกิริยาต่อแรงกดดันจากวงการการเงินที่เน้นอนุรักษ์สภาพภูมิอากาศและแรงกดดันจากห่วงโซ่อุปทานของบริษัท . อ้างอิง: '10 Top นโยบายสาธารณะด้านความยั่งยืนปี 2021' หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น