#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
การใช้จ่ายของภาครัฐมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยผลกระทบต่อเศรษฐกิจนั้นจะดีหรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณเงินที่ใช้หรือระดับการขาดดุลเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ปัจจัยแวดล้อมอื่น โดยเฉพาะสภาวะเศรษฐกิจ คุณภาพ และประสิทธิภาพของการใช้เงินที่สะท้อนระดับความสามารถของภาครัฐก็มีส่วนด้วยเช่นกัน.
.
ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์แบ่งรายจ่ายรัฐบาลออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) รายจ่ายเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน ซึ่งรายจ่ายในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นการจ่ายเพื่อให้กลไกของภาครัฐสามารถทำงานต่อไปได้ (2) รายจ่ายด้านการลงทุน ซึ่งการลงทุนคาดหวังให้ผลตอบแทนกลับมาในรูปของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว และทำให้รัฐสามารถจัดเก็บภาษีได้มากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นหากผลตอบแทนมีมากกว่าต้นทุนก็ถือได้ว่ารายจ่ายนี้มีความคุ้มค่า และ (3) การถ่ายโอนเงินโดยมิได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาในระยะยาว เช่นการให้เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ ทั้งนี้นโยบายในกลุ่มนี้ถือเป็นความพยายามของรัฐในการลดความเหลื่อมล้ำ หรือบรรเทาผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน.
.
ดังนั้น การประเมินความคุ้มค่าของการใช้เงินต้องดูกันตั้งแต่วัตถุประสงค์ วิธีการบริหารจัดการ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง เพราะรายจ่ายอาจมีกลายพันธ์ได้ระหว่างทาง. ทั้งนี้ หากผลประเมินออกมาพบว่าโดยรวมแล้วผลเสียมากกว่าได้ แสดงว่านโยบายประชานิยมนั้นไม่คุ้มค่า. อย่างไรก็ดี ถ้าโครงการก่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนดีขึ้น คุ้มค่ากับเงินที่ลงไป แต่รัฐบาลกลับตัดสินใจยกเลิกไม่ทำต่อ แบบนี้ก็ถือได้ว่าเข้าข่ายขาดวินัยทางการคลังเช่นกัน.
.
วินัยทางการคลังสำหรับประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยของเรา จึงน่าจะหมายถึงการใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ไม่ใช้จ่ายเกินตัว หากรู้จักบริหารเงินให้คุ้มค่า ทั่วถึง สร้างผลตอบแทนกลับมาจะได้ไม่เป็นภาระกับประชาชนและประเทศจึงถือได้ว่ามีวินัยทางการคลังที่แท้จริง
.
🙏🙏
อ้างอิง: 'วินัยการคลัง ใช้เงินแบบไหน' เกียรติอนันท์ ล้วนแก้ว กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น