#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
ในการทำงานนั้น ลูกจ้างที่ทำงานในองค์กรหนึ่งมีโอกาสที่อาจได้รับการเจ็บป่วย ประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต ซึ่งแม้แต่นายจ้างหรือตัวเราเองจะพยายามป้องกันมากขนาดไหน แต่เรื่องที่ไม่คาดฝันสามารถเกิดขึ้นได้. กองทุนเงินทดแทน โดยสำนักงานประกันสังคมได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นกองทุนที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างในกรณีเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือถึงแก่ความตาย เนื่องจากการทำงาน. โดยเงินในกองทุนดังกล่าวเป็นเงินที่นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบให้แก่สำนักงานประกันสังคม โดยจำนวนขึ้นกับความเสี่ยงของธุรกิจ และลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครองและค่าทดแทนใน 4 กรณี.
.
กรณี 1 ค่าทดแทนรายเดือน กรณีไม่สามารถทำงานได้ - เงื่อนไขในกรณีนี้ได้แก่ 1) การจ่ายค่าทดแทนร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน 2) แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 1 วัน รวมไม่เกิน 1 ปี
กรณี 2 ค่าทดแทนกรณีสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกาย - จะได้รับค่าทดแทนร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือนเป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี. โดยการประเมินนั้น ลูกจ้างต้องได้รับการรักษาพยาบาลจนสิ้นสุดการรักษาและอวัยวะคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
กรณี 3 ค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพ - ให้มีระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนตลอดชีวิตตามประกาศกระทรวงแรงงาน โดยมีสิทธิ์ได้รับค่าทดแทนร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน
กรณี 4 ค่าทดแทนกรณีถึงแก่ความตายหรือสูญหายเนื่องจากการทำงาน - มิสิทธิ์ได้ค่าทดแทนร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นระยะเวลา 10 ปี โดยจ่ายให้กับผู้มีสิทธิ์ตามกฎหมาย
.
สิทธิ์ของลูกจ้างที่ได้กล่าวข้างต้นในเรื่องที่เกี่ยวกับเงินทดแทนนั้นถือเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างที่ทำงานทุกท่าน แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจและใช้ประโยชน์จากสิทธิ์ดังกล่าวเมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิด ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างไม่สมควร. ดังนั้นการได้ทำความใจในเรื่องดังกล่าวบ้าง น่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย เผื่อในยามฉุกเฉินยังระลึกได้และใช้สิทธิ์เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากในยามที่เกิดเหตุ.
.
🙏🙏
อ้างอิง: 'กองทุนเงินทดแทน ดูแล คุ้มครองลูกจ้างตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงานให้นายจ้าง' กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น