ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2021

3 ปัจจัยเศรษฐกิจ หลังยุคโควิด (s.288)

#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . เศรษฐกิจโลกหลังโควิดมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปมาก ซึ่งหลายอย่างจะไม่เหมือนเดิมโดยมาจากพลวัตของปัจจัย 3 อย่าง คือ เศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอกว่าเดิม ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน และ บทบาทของเทคโนโลยี โดยมีรายละเอียดดังนี้ . 1. เศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอกว่าเดิม - ผลกระทบนี้จะมีต่อเนื่องถึงอนาคต และวิกฤติโควิดก็ได้ทำให้การกระจายรายได้ในเกือบทุกประเทศแย่ลงด้วย ส่งผลให้การฟื้นตัวในแต่ละประเทศแตกต่างกันมาก. ที่เห็นได้ชัดคือการฟื้นตัวส่วนใหญ่จะเป็นแบบตัวอักษร K คือ มีสาขาเศรษฐกิจที่ขึ้นนำและได้ประโยชน์จากการฟื้นตัว เช่น เทคโนโลยี การเงิน เป็นต้น ในขณะที่สาขาบริการและการท่องเที่ยวซึ่งเป็นฐานรายได้และการจ้างงานของคนส่วนใหญ่จะฟื้นตัวช้า เป็นการฟื้นตัวที่คนส่วนใหญ่ขาดกำลังซื้อ  . 2. ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและจีน - เมื่อเทียบระหว่างสหรัฐและจีน วิกฤติโควิดแสดงให้เห็นชัดเจนถึงความสามารถของจีนในการแก้ปัญหาที่สามารถควบคุมการระบาดได้ดีกว่าในสหรัฐ และเป็นเศรษฐกิจเพียงไม่กี่แห่งที่ยังสามารถขยายตัวได้ในปีที่ผ่านมา ซึ่งความสำเร็จนี้ทำให้บทบาทของจีนในเศรษฐกิจโลกเ...

ทิ้ง เก็บ เลือก กับการพัฒนาประเทศ (s.287)

    #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . จากหนังสือของคุณจาเร็ด ไดมอนด์ ในหนังสือเรื่อง "UPHEAVAL การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ : จุดเปลี่ยนสำหรับนานาประเทศท่ามกลางภาวะวิกฤต" โดยชี้ให้เห็นว่าประเทศที่ประสบความสำเร็จนั้นต้อง "รู้จักทิ้ง"  "รู้จักเก็บ" และ "รู้จักเลือก" ให้เหมาะสม. . รู้จักทิ้ง - คือ การรู้ว่าเรื่องไหนกำลังถ่วงรั้งการพัฒนาประเทศอยู่ และสามารถกำจัดหรือลดปัจจัยเหล่านี้ให้มีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  รู้จักเก็บ - คือ การรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญ เป็นรากเหง้าของประเทศ เป็นแก่นของความเป็นชาติที่ต้องเก็บไว้ เพื่อให้ประเทศมีอัตลักษณ์ของตนเอง เป็นแหล่งรวมใจของความเป็นชาติ เป็นที่ยึดเหนี่ยวของคนในประเทศ รู้จักเลือก - คือ เลือกรับในสิ่งที่เป็นประโยชน์จากประเทศอื่น แล้วนำมาปรับใช้กับประเทศของตนเองให้เหมาะสมกับสังคม วัฒนธรรมและศักยภาพของประเทศ เพื่อให้สิ่งเหล่านี้สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในทิศทางที่เหมาะสม .  โดยเมื่อมองบริบทของสังคมจีน พบว่า สิ่งที่จีนเลือกจะทิ้ง ได้แก่ วัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น การคอร์รัปชัน การเล่นพวกพ้...

การช่วยเหลือสังคมของธุรกิจ กับ โควิด (s.286)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับสังคมได้มีการพัฒนาแนวคิดจากในอดีตมาอย่างต่อเนื่อง โดยในอดีตนั้น ได้มีนักเศรษฐศาสตร์อย่าง Milton Friedman ได้เคยระบุถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจคือ การเพิ่มกำไรให้เพิ่มขึ้นโดยอยู่ภายกรอบกฎหมาย ซึ่งแนวคิดนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป และบทบาทของธุรกิจต่อสังคมได้เปลี่ยนเป็นเชิงรุกมากขึ้น โดยธุรกิจเริ่มมีมุมมองว่าถ้าสังคมและประชาชนอยู่ไม่ได้ ธุรกิจก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน. . ทั้งนี้การทำ CSR ในอดีตที่ธุรกิจเข้าไปช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ โดยส่วนใหญ่มักจะไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำอยู่  อย่างไรก็ดี ต่อมาภายหลัง Michael Porter ได้บุกเบิกแนวคิดเรื่องของ CSV (Creating Shared Value) ซึ่งเป็นการที่ธุรกิจช่วยเหลือสังคม ขณะเดียวกันก็สนับสนุนต่อสิ่งที่ธุรกิจทำอยู่ สุดท้ายนำปสู่การเติบโตของทั้งสังคมและธุรกิจ ซึ่งในระยะหลังบทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับสังคมก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งใน ESG. . เมื่อหันมาที่องค์กรในประเทศไทย เราสามารถแบ่งรูปแบบของการช่วยเหลือสังคมของธุรกิจในช่วงนี้ออกได้เป็น 3 รูปแบบใหญ่ ได้แก่ 1. การ...

เทคโนโลยี กับ การแก้ปัญหาโควิด (s.285)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . ในสถานการณ์โควิด-19 นี้ เราจะได้เห็นและพบว่ามีประเทศจำนวนมากได้นำข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิตอลมาช่วยในการบริหารจัดการกับวิกฤตที่เกิดขึ้น ทั้งการป้องกันการระบาดและการเยียวยา โดยมีเทคโนโลยีที่น่าสนใจจำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ . 1. เทคโนโลยีการติดตามและประเมินอาการด้วยตัวผู้ใช้เอง (Self-Assessment/Symptom Tracking) - เป็นระบบที่ให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลเกี่ยวกับอาการ พฤติกรรมเสี่ยง เพื่อประเมินอาการติดเชื้อ 2. เทคโนโลยีช่วยระบุตัวตนคนที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย - ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการหยุดยั้งการระบาด ซึ่งปกติการตรวจหาผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงนั้น จะทำโดยการผ่านการสัมภาษณ์. การใช้เทคโนโลยีนี้ผ่านข้อมูลจากสมาร์ทโฟนที่เก็บข้อมูล location จึงช่วยเพิ่มความสะดวกในการหากลุ่มเสี่ยงได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว 3. เทคโนโลยีวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของประชากรและพฤติกรรมการเดินทาง (Modelling and Mapping Population Flows) - เป็นการประเมินและหาฮอตสปอตของการติดเชื้อ เพื่อช่วยกำหนดนโยบายการกักตัวหรือการปิดสถานที่ได้อย่างเหมาะสม 4. การนำข้อมูลจากโทรศัพท์เคลื่...

แนวโน้มการจ้างงานหลังโควิด-19 (s.284)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในครั้งนี้กระทบกับธุรกิจต่างๆ อย่างไม่คาดคิด และผลกระทบนั้นก็ยังแผ่ขยายไปยังตลาดแรงงานด้วยในหลากหลายมิติ โดยรูปแบบที่ส่งผลกระทบนั้นรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของความต้องการแรงงาน การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน หรือแม้กระทั่งการสัมภาษณ์งาน เป็นต้น.  โดยองค์กรจำนวนมากมีการให้พนักงานทำงานที่บ้าน ซึ่งทำให้รูปแบบการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงไปโดยใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีมากขึ้น ทั้งนี้ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับเรื่องที่อาจจะเป็นปกติใหม่ขององค์กรในอนาคต ประกอบด้วย . New Normal Employment - จากการที่องค์กรต้องมีการปรับตัวทำให้ส่งผลกระทบถึงการจ้างงาน โดยองค์กรจำนวนมากมีมาตรการการลดค่าใช้จ่ายของบริษัท เช่น การปลดพนักงาน การลดสวัสดิการ อัตราการเปิดรับสมัครงานลดลง เป็นต้น. ในยุค New Normal นี้ องค์กรจะเริ่มมีการทบทวนปรับเปลี่ยนสวัสดิการ ซี่งอาจเพิ่มสวัสดิการให้พนักงานสามารถทำงานที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องเข้าออฟฟิต ส่วนสวัสดิการบางอย่างก็อาจถูกยกเลิก เช่น กิจกรรมสันทนาการ งานเลี้ยงสังสรรค์ ท่องเที่ยวประจำปี เป็นต้น . Next Normal Employment - ...

นวัตกรรม กับ การกระจายโครงสร้าง (s.283)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . แนวโน้มที่มาแรงในการจัดตั้งหน่วยงาน innovation ขององค์กรต่างๆ ในปัจจุบันจะเป็นลักษณะที่มีการจัดตั้ง Innovation Lab แยกออกมาจากหน่วยงานวิจัยและพัฒนา (R&D) ขององค์กร เพื่อพัฒนานวัตกรรมขั้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เราเห็นในอุตสาหกรรม อาทิเช่น Healthcare, Banking, และ พลังงาน. . ทั้งนี้ ปัญหาหลักของการสร้างนวัตกรรมโดยหน่วยงานกลางและบริหารจัดการแบบ Centralized คือ ทีมวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมมักใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการสื่อสาร รายงานผล และประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนทำให้ประสิทธิภาพในการคิดค้น วิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่สร้างผลกระทบในวงกว้างลดลง.  โดยบริษัทที่ยังคงโครงสร้าง R&D/Innovation แบบรวมศูนย์ มักอยู่ในอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม เช่น ค้าปลีก อุปโภคบริโภค การผลิต เกษตรและอาหาร เป็นต้น ซึ่งในอดีต ข้อได้เปรียบก็คือการใช้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของทีมงานหลักมาเป็นตัวตั้ง และสร้างทีมงานขึ้นมาเพื่อพัฒนานวัตกรรมให้ตอบโจทย์ทุกหน่วยธุรกิจ. อย่างไรก็ดี ในยุคปัจจุบัน ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญมักจะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดนวัตกรรมที่พลิกธุรกิจ...

ทายาท กับ การรับไม้ต่อธุรกิจครอบครัว (s.282)

#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . การรับช่วงต่อในการบริหารธุรกิจของครอบครัวถือเป็นความท้าทายสำหรับทายาท โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งความรวดเร็วของการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนสองรุ่น. ทั้งนี้แนวทางสำหรับทายาทที่กำลังจะก้าวขึ้นมารับบริหารต่อในธุรกิจครอบครัวจึงจำเป็นต้องมีแผนและกลยุทธ์ ดังนี้ . 1. การรับช่วงต่อสำหรับธุรกิจครอบครัวต้องไม่ใช่เพื่อเอาใจพ่อแม่หรือคนในครอบครัวเสมอไป แต่เป็นเรื่องของการบริหารจัดการที่ต้องใช้ธุรกิจเป็นตัวนำ โดยการเป็นตัวของตัวเอง อธิบายพูดคุยให้เข้าใจกัน 2. หากมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น อย่าปล่อยให้บานปลาย ให้พยายามใช้เหตุผลค่อยๆ อธิบายให้คนรุ่นเก่าได้เห็นและเข้าใจ 3. หากคุยไม่ลงตัว ให้คิดว่ายังมีอีกหลายเรื่องให้จัดการ โดยคนทายาทต้องรู้วิธีจัดความสำคัญของสิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลง และมีความยืดหยุ่นที่จะปรับแผน 4. ต้องเข้าใจธรรมชาติว่าคนรุ่นเก่ามักมองเราเป็นเด็กเสมอ ดังนั้นหากมีความเห็นไม่ตรงกันก็ต้องรู้จักวิธีจัดการและไม่ควรขัดแย้งต่อหน้าผู้บริหารหรือพนักงานคนอื่น . ทั้งนี้ สถานการณ์โควิดอาจเป็นตัวช่วยในการลดช่องว่า...

พรรคคอมมิวนิสต์จีน กับ ความสำเร็จทางเศรษฐกิจ (s.281)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน (พคจ.) ถือกำเนิดหลังการประชุมครั้งแรกกลางปี 1921 และจากนั้นก็ได้มีการต่อสู้ทั้งทางการเมืองและการทหารเป็นเวลา 28 ปี ก่อนได้เข้ามาบริหารประเทศในปี 1949 และปกครองประเทศจีนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยถือเป็นพรรคการเมืองที่บริหารประเทศยาวนานสุดระดับต้นของโลก. โดยนิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์ กล่าวถึง 3 ปัจจัยที่ทำให้ พคจ. สามารถปกครองประเทศจีนได้นานต่อเนื่องดังนี้ . 1. ความพร้อมที่จะใช้อำนาจรุนแรง - เพื่อปกป้องจากศัตรูทางการเมืองและบุคคลากรของพรรคที่ออกนอกลู่นอกทาง 2. ความยืดหยุ่น - พร้อมปรับวิธีการบริหารจัดการที่อาจต่างไปจากแนวทางของสิทธิสังคมนิยม เช่น เรื่องเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ของประชาชน 3. ความกินดีอยู่ดี - มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนที่ดีขึ้นทั่วหน้าเป็นการสร้างความชอบธรรมในการอยู่ในอำนาจ . โดยใน 3 ปัจจัยข้างต้นนั้น มีความเห็นว่าเรื่องเศรษฐกิจถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยความสำเร็จด้านเศรษฐกิจสามารถวิเคราะห์ได้จากผลของปัจจัย 3 ประการ ได้แก่  1. บทบาทของระบบตลาดลาดและการแข่งขัน - เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถ...

การลงทุน กับ ESG ขององค์กร (s.280)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . ผลสำรวจของ Global Consumer Insight Pulse Survey ของ PwC ประจำเดือน มิ.ย.2564 ซึ่งได้ทำการสำรวจผู้บริโภคจำนวน 8,681 คนใน 22 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา สาธารณรัฐประชาชนจีน ฝรั่งเศส เยอรมนี เขตปกครองพิเศษฮ่องกง รวมถึงประเทศไทย เป็นต้น. ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อมูลของประเทศไทยพบว่า 76% ของผู้บริโภคชาวไทยต้องการซื้อสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือใช้บรรจุภัณฑ์น้อยที่สุด ในขณะที่จำนวน 78% จะเลือกซื้อเฉพาะผลิตภัณฑ์จากบริษัทที่มีจิตสำนึกและสนับสนุนการปกป้องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น. . นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบว่า 79% ของผู้บริโภคไทยยังต้องการเลือกซื้อสินค้าที่ระบุถึงแหล่งที่มาอย่างชัดเจน และสามารถตรวจสอบหาต้นกำเนิดได้.  ซึ่ง ณ วันนี้เทรนด์ผู้บริโภคเปลี่ยนไปสู่ประเภท eco-conscious มากขึ้น โดยผู้บริโภคยอมที่จะจ่ายมากขึ้น หากสินค้าและบริการที่ได้รับกลับมามีคุณภาพ และช่วยลดการสร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมให้กับสังคมได้บ้าง ไม่เหมือนกับในอดีตที่ราคาถือเป็นปัจจัยอันดับแรกในการเลือกซื้อของผู้บริโภค. . ทั้งนี้ การที่ผู้บริโภคหันมาให้คว...

ภาษียาสูบ กับ ประเทศไทย (s.279)

#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . ภาษีบุหรี่ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ภาครัฐใช้ชักนำพฤติกรรมของประชาชนในประเทศ โดยเป็นการเพิ่มราคาของสินค้ายาสูบ ซึ่งมีโทษต่อสุขภาพของประชาชนและเป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้ภาษีเข้ารัฐด้วย. โดยในประเทศไทยนั้น การกำหนดนโยบายภาษียาสูบจะมีปัจจัยทั้งทางด้านสังคม การเมือง รวมถึงปัจจัยด้านการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศเข้ามามีบทบาทค่อนข้างสูง. ทั้งนี้มีประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องของนโยบายที่น่ารู้ ได้แก่ . 1. ภาษียาเส้นยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก - เพราะภาครัฐมองว่ายาเส้นเป็นสินค้าสำหรับผู้มีรายได้น้อยและถูกผลิตโดยผู้ประกอบการท้องถิ่น ทำให้ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐมีการขึ้นภาษียาเส้นเพียงแค่ 2 ครั้ง ในขณะที่มีการขึ้นภาษีบุหรี่ถึง 17 ครั้ง แม้ว่ายาเส้นจะมีอันตรายไม่น้อยไปกว่าบุหรี่ . 2. การกำหนดภาษีมูลค่าบุหรี่แบบ 2 อัตรา - โดยมีอัตราร้อยละ 20 สำหรับบุหรี่ไม่เกิน 60 บาท และร้อยละ 40 สำหรับบุหรี่ที่เกิน 60 บาท เพราะรัฐต้องการปกป้องผู้ประกอบการในประเทศที่ส่วนใหญ่ขายบุหรี่ในราคาที่ต่ำกว่า 60 บาท แต่โครงสร้างดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการต่างชาติหันมากำหนดราคาบุหรี่ไ...

คิดบวก กับ การมองโลกในแง่ดี (s.278)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . การคิดบวก (Positivity) เป็นการคิด การรู้สึก หรือการมองอย่างมีหวังว่าต้องมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นในอนาคต ถือเป็นพลังทางความคิดที่จะช่วยให้ผ่านพ้นสถานการณ์ที่แย่ไปได้ โดยการคิดบวกนั้น เริ่มง่ายๆ ด้วยการคิดหรือพูดคุยกับตนเองก่อน.  การมองโลกในแง่ดี (Optimism) เป็นการเชื่อมั่นว่าจะมีสิ่งดีๆ หรือเรื่องราวดีๆ ที่เป็นบวกเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งไม่ใช่การมองข้ามในสถานการณ์ปัจจุบัน หรือไม่สนใจเรื่องราวที่เกิดขึ้น แต่มีศรัทธาและเชื่อมั่นในสิ่งดีๆ ในอนาคต. . การคิดบวกนั้นถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะคนคิดบวกมักจะเป็นคนที่ไม่เครียดและมองโลกในแง่ดี ซึ่งมักทำให้มีคนอยากอยู่ใกล้ อยากพูดคุยด้วย. อย่างไรก็ดี การคิดในแง่ดี การมองในแง่ดีไปทั้งหมด ก็อาจเป็นการปฏิเสธสถานการณ์ ทำเป็นไม่สนใจ เพิกเฉยต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน. สิ่งที่สำคัญคือการมองโลกในแง่ดีและการคิดบวกนั้น เราสามารถมองให้เป็นแง่ดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ คือ การมองสิ่งต่างๆ อย่างเข้าใจ ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น และหากเป็นเรื่องไม่ดีก็รู้จักคิดและพยายามหามุมมองที่เป็นประโยชน์ทางด้านบวกจากสิ่งนั้นๆ ให้เกิดประโยชน์. . คนท...

มนุษย์เงินเดือน กับ รายได้ที่ลดลง (s.277)

#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . จากข้อมูลสำรวจภาวะการทำงานของประชากรไทยโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ รายได้ของพนักงานเงินเดือนในภาคเอกชน (เงินเดือน โอที และโบนัส) ในปี 2563 ยังคงเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย โดยมีรายได้เฉลี่ย 18,645 บาทต่อเดือน เพิ่มขึ้น 1.3% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากรายได้ในส่วนของเงินเดือนซึ่งยังไม่ได้ถูกกระทบจากผลของโควิดมากนักในช่วงดังกล่าว.  อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาในส่วนของโอทีและโบนัส พบว่ามีการปรับลดลงมาตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2563 ที่ -10.1% และรายได้ทั้งสองส่วนนี้ยังหดตัวอย่างต่อเนื่องในไตรมาสต่อๆ มา โดยเฉลี่ยในไตรมาส 2-4 ของปี 2563 รายได้ดังกล่าวลดลงถึง -48.2% สะท้อนถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อภาคธุรกิจที่ได้รับผลจากการล็อคดาวน์. นอกจากนี้ ในปี 2564 ผลกระทบจากโควิดยังคงต่อเนื่องและส่งผลให้พนักงานเงินเดือนมีรายได้ทั้งเงินเดือน โอที และโบนัส ในไตรมาส 1 ปี 2564 ลดลงอีกถึง -8.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แม้กระทั่งส่วนของเงินเดือนก็ปรับลดถึง -2.9% เช่นกัน. ส่วนที่ได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าเงินเดือน ได้แก่ โบนัส ซึ่งลดลงถึง -41.0% ซึ่งนับเป็นการลดลงที่มากที่สุดตั้งแต่ปี 2...

ทุเรียนไทย กับ ความนิยมของคนจีน (s.276)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน ประเทศไทยของเราถือเป็นผู้ส่งออกทุเรียนรายใหญ่เมื่อพิจารณาทั้งจากปริมาณและมูลค่า โดยเป็นอันดับ 1 ของโลก ด้วยส่วนแบ่งตลาดโลกที่ร้อย 75.9 ในปี 2563. โดยทุเรียนของไทยเรานั้นมีข้อได้เปรียบตรงที่ประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญในการทำตลาดส่งออกผลไม้เป็นทุนเดิม ทำเลที่ตั้งที่อยู่ใกล้กับตลาดจีน ทำให้การขนส่งไปถึงมือผู้บริโภคทำได้อย่างรวดเร็วในราคาที่ยอมรับได้ อีกทั้งรสชาติยังถือว่าได้รับการยอมรับในตลาดโลก. อย่างไรก็ดี ความต้องการทุเรียนโดยเฉพาะในตลาดจีนได้ทำให้เกิดการแข่งขันจากประเทศอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันทุเรียนของประเทศไทยครองส่วนแบ่งตลาดจีนถึงร้อยละ 99 ของการนำเข้าทุเรียนของจีน + ฮ่องกง แต่ด้วยข้อจำกัดในปริมาณการผลิตของประเทศไทยที่มีประมาณ 1.1 ล้านตันในปี 2563 จึงถือเป็นความท้าทายในอนาคตของการส่งออก. ทั้งนี้การชูจุดขายสายพันธุ์ใหม่ให้เป็นที่รู้จัก น่าจะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำตลาดในระยะยาว นอกเหนือจากพันธุ์หมอนทองและชะนีที่เป็นที่นิยมอยู่แล้ว. ล่าสุดได้มีพันธุ์มูซันคงจากมาเลเซียและสุลต่าน ซึ่งมีการส่งออกเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเป็นคู...

พนักงานที่มีทักษะ กับ การยกระดับความสามารถ (s.275)

#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . ในปัจจุบันเราอาจได้ยินการแข่งขันแย่งชิงพนักงานที่มีความสามารถระหว่างองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะพนักงานที่มีทักษะด้านไอทีซึ่งจำเป็นต่อการสร้างความได้เปรียบขององค์กรในอนาคต. โดยการจ้างแรงงานที่มีทักษะสูงในโลกหลังยุคโควิคมีแนวโน้มจะยิ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เว้นแม้แต่ตลาดแรงงานในประเทศไทยที่ต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิตอล ดาต้า ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และ คลาวด์ จนมีการแย่งตัวระหว่างองค์กรต่างๆ กลายเป็น talent war ที่รุนแรง. . ในขณะที่เกิดการแข่งขันชิงตัวแรงงานที่มีทักษะสูง  แรงงานที่มีทักษะปานกลางจนถึงต่ำจะมีความเสี่ยงจากที่ระบบอัตโนมัติเข้ามาทดแทนการทำงาน ซึ่งเราได้เริ่มเห็นกันในหลากหลายอุตสาหกรรมที่มีการนำ AI และระบบหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในการทำงานมากขึ้น. ทั้งนี้ PwC ได้ทำการสำรวจแนวโน้มแรงงานทั่วโลกใน 19 ประเทศ พบว่าวิกฤตโควิดนี้ ได้เร่งให้เกิดการพัฒนาทักษะทางด้านดิจิตอลมากขึ้น โดย 40% ของผู้ตอบแบบสำรวจมีการพัฒนาทักษะดิจิตอลของตนเองในช่วง Lockdown ทำให้เกิดการปรับรูปแบบการทำงานใหม่.  อย่างไรก็ดี ความมั่งคงในหน้าที่การงานยังถือเป็นความกังวลอัน...

ปัจจัยที่ต้องพิจารณา กับ การเปิดประเทศ (s.274)

  #busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน . การเปิดประเทศสำหรับประเทศไทยของเรานั้นดูเหมือนวัคซีนจะเป็นคำตอบที่สำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เพื่อให้การระบาดและการเสียชีวิตลดลง อย่างไรก็ดี มาตรการในการเปิดประเทศนั้นจะตั้งอยู่บนพื้นฐานสมมุติฐานที่สำคัญ 2 เรื่องได้แก่ 1.สถานการณ์ระบาดหลังเปิดประเทศจะสามารถควบคุมได้ และ 2.ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจจากการเปิดประเทศมีมากกว่าความเสี่ยงที่การระบาดจะเพิ่มขึ้นหลังเปิดประเทศ . ทั้งนี้ประเด็นแรก การระบาดภายหลังเปิดประเทศจะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่ 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) จังหวะที่จะเปิดประเทศ คือ การเปิดประเทศในช่วงที่การระบาดเป็นช่วงขาลงซึ่งจะทำให้การควบคุมทำได้ง่ายกว่า  2) การฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุดก่อนการเปิดประเทศ ซึ่งปัญหาขณะนี้คือจำนวนวัคซีนที่จะมีเพียงพอหรือไม่และจะกระจายอย่างไร  3) สมรรถภาพของระบบสาธารณสุขที่จะดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังเปิดประเทศ  4) รูปแบบที่จะเปิดประเทศ เช่น จะเปิดอย่างไร เปิดเฉพาะพื้นที่หรือไม่ มีมาตรการป้องกันอย่างไร เป็นต้น และ 5) ความร่วมมือของประชาชนที่จะช่วยลดการระบาด. ซึ่งปัจจัยทั้ง 5 ที่ได้กล่าวมาจะมีผลต่อการค...