#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
ผลสำรวจของ Global Consumer Insight Pulse Survey ของ PwC ประจำเดือน มิ.ย.2564 ซึ่งได้ทำการสำรวจผู้บริโภคจำนวน 8,681 คนใน 22 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา สาธารณรัฐประชาชนจีน ฝรั่งเศส เยอรมนี เขตปกครองพิเศษฮ่องกง รวมถึงประเทศไทย เป็นต้น. ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อมูลของประเทศไทยพบว่า 76% ของผู้บริโภคชาวไทยต้องการซื้อสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือใช้บรรจุภัณฑ์น้อยที่สุด ในขณะที่จำนวน 78% จะเลือกซื้อเฉพาะผลิตภัณฑ์จากบริษัทที่มีจิตสำนึกและสนับสนุนการปกป้องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น.
.
นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบว่า 79% ของผู้บริโภคไทยยังต้องการเลือกซื้อสินค้าที่ระบุถึงแหล่งที่มาอย่างชัดเจน และสามารถตรวจสอบหาต้นกำเนิดได้. ซึ่ง ณ วันนี้เทรนด์ผู้บริโภคเปลี่ยนไปสู่ประเภท eco-conscious มากขึ้น โดยผู้บริโภคยอมที่จะจ่ายมากขึ้น หากสินค้าและบริการที่ได้รับกลับมามีคุณภาพ และช่วยลดการสร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมให้กับสังคมได้บ้าง ไม่เหมือนกับในอดีตที่ราคาถือเป็นปัจจัยอันดับแรกในการเลือกซื้อของผู้บริโภค.
.
ทั้งนี้ การที่ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจกับสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์กับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแล้ว ยังผลให้การลงทุนในรูปแบบของการลงทุนอย่างยั่งยืนมีแนวโน้มที่จะเติบโตตามกัน โดยมีผู้ลงทุนสถาบันและผู้จัดการกองทุนที่นำผลการดำเนินงานด้าน ESG ของบริษัทจดทะเบียนมาใช้เป็นปัจจัยหนึ่งในการเลือกการลงทุน. นอกจากนี้ จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 น่าจะมีส่วนในการกระตุ้นให้ผู้นำประเทศและผู้นำบริษัทร่วมกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังมากขึ้น รวมถึงประเทศไทยของเราที่ควรหันมาศึกษาและผนวกประเด็น ESG กับเข้ากลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค นักลงทุน และส่วนรวม.
.
อ้างอิง: 'ผู้บริโภคไทยเต็มใจจ่ายสินค้า 'รักษ์โลก'' ชาญชัย ชัยประสิทธิ์ กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น