#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
แนวโน้มที่มาแรงในการจัดตั้งหน่วยงาน innovation ขององค์กรต่างๆ ในปัจจุบันจะเป็นลักษณะที่มีการจัดตั้ง Innovation Lab แยกออกมาจากหน่วยงานวิจัยและพัฒนา (R&D) ขององค์กร เพื่อพัฒนานวัตกรรมขั้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เราเห็นในอุตสาหกรรม อาทิเช่น Healthcare, Banking, และ พลังงาน.
.
ทั้งนี้ ปัญหาหลักของการสร้างนวัตกรรมโดยหน่วยงานกลางและบริหารจัดการแบบ Centralized คือ ทีมวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมมักใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการสื่อสาร รายงานผล และประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนทำให้ประสิทธิภาพในการคิดค้น วิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่สร้างผลกระทบในวงกว้างลดลง. โดยบริษัทที่ยังคงโครงสร้าง R&D/Innovation แบบรวมศูนย์ มักอยู่ในอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม เช่น ค้าปลีก อุปโภคบริโภค การผลิต เกษตรและอาหาร เป็นต้น ซึ่งในอดีต ข้อได้เปรียบก็คือการใช้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของทีมงานหลักมาเป็นตัวตั้ง และสร้างทีมงานขึ้นมาเพื่อพัฒนานวัตกรรมให้ตอบโจทย์ทุกหน่วยธุรกิจ. อย่างไรก็ดี ในยุคปัจจุบัน ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญมักจะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดนวัตกรรมที่พลิกธุรกิจได้ การเข้าถึงองค์ความรู้ใหม่และมุมมองใหม่ทางด้านเทคโนโลยีกลายเป็นช่องว่างที่เติมไม่เต็มถ้ายังใช้ทีมงานที่มีอยู่เดิม
.
การสำรวจโดย MIT ระบุว่าภายใน 5 ปีข้างหน้า Innovation Lab ที่เป็นการพัฒนานวัตกรรมแบบกระจายศูนย์จะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่ทำให้องค์กรเติบโต. โดยโครงสร้างแบบกระจายศูนย์จะทำให้เกิดการกระจายอำนาจการตัดสินใจที่จะทำให้ทุกสิ่งรวดเร็วขึ้น นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมองค์กรอย่างยั่งยืน ซึ่งสิ่งที่ผู้นำต้องตระหนักเสมอคือ "One Size Fits All" นั้นไม่มีอยู่จริงในกระบวนการการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์นวัตกรรม.
.
อ้างอิง: 'Decentralized Innovation หมดยุครวมศูนย์' ต้องหทัย กุวานนท์ กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น