#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
ในสถานการณ์โควิด-19 นี้ เราจะได้เห็นและพบว่ามีประเทศจำนวนมากได้นำข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิตอลมาช่วยในการบริหารจัดการกับวิกฤตที่เกิดขึ้น ทั้งการป้องกันการระบาดและการเยียวยา โดยมีเทคโนโลยีที่น่าสนใจจำนวน 6 เรื่อง ได้แก่
.
1. เทคโนโลยีการติดตามและประเมินอาการด้วยตัวผู้ใช้เอง (Self-Assessment/Symptom Tracking) - เป็นระบบที่ให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลเกี่ยวกับอาการ พฤติกรรมเสี่ยง เพื่อประเมินอาการติดเชื้อ
2. เทคโนโลยีช่วยระบุตัวตนคนที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย - ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการหยุดยั้งการระบาด ซึ่งปกติการตรวจหาผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงนั้น จะทำโดยการผ่านการสัมภาษณ์. การใช้เทคโนโลยีนี้ผ่านข้อมูลจากสมาร์ทโฟนที่เก็บข้อมูล location จึงช่วยเพิ่มความสะดวกในการหากลุ่มเสี่ยงได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว
3. เทคโนโลยีวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของประชากรและพฤติกรรมการเดินทาง (Modelling and Mapping Population Flows) - เป็นการประเมินและหาฮอตสปอตของการติดเชื้อ เพื่อช่วยกำหนดนโยบายการกักตัวหรือการปิดสถานที่ได้อย่างเหมาะสม
4. การนำข้อมูลจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ประยุกต์ใช้ในมาตรการกักตัว (Surveillance and Enforcement) - เช่น ในประเทศจีน มีแอพพลิเคชันเช่น Ali Health Code ที่นอกจากสามารถประเมินความเสี่ยงการติดโรคแล้ว ยังมีการเชื่อมต่อกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ทำให้สามารถดำเนินการมาตรการควบคุมได้ทันที หากเกิดการละเมิดมาตรการกักตัว
5. การสื่อสารกับประชาชน - เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติที่เหมาะสมในการปรับตัวช่วงวิกฤต ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในยามวิกฤต. โดยเป็นการนำข้อมูลจากโซเชียลมีเดียมาศึกษาทัศนคติและความกังวลของประชาชน และนำมาใช้ในโครงการต่างๆ เช่น การให้คำปรึกษาทางไกลเกี่ยวกับสุขภาพ เป็นต้น
6. การใช้ Alternative Data เพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบแบบเจาะกลุ่ม - เป็นการทำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยระบุตัวผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้เกิดการเยียวยาแบบเจาะกลุ่มแทนการเยียวยาแบบกระจาย ที่แม้ว่าจะทั่วถึงแต่เงินเยียวยาอาจไม่เพียงพอ
.
ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาได้นั้นควรต้องดำเนินร่วมกับกลไกกฎหมายและนโยบาย โดยมุ่งตอบโจทย์เรื่องความเท่าเทียมกัน เน้นการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางอย่างถ้วนหน้า และที่สำคัญคือการไม่ต้องทิ้งคนกลุ่มใดไว้ข้างหลัง
อ้างอิง: 'แก้โควิด-19 ด้วยข้อมูล บทเรียนจากนานาชาติ' ประกาย ธีระวัฒนากุล กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น