#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
ในปัจจุบันเราอาจได้ยินการแข่งขันแย่งชิงพนักงานที่มีความสามารถระหว่างองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะพนักงานที่มีทักษะด้านไอทีซึ่งจำเป็นต่อการสร้างความได้เปรียบขององค์กรในอนาคต. โดยการจ้างแรงงานที่มีทักษะสูงในโลกหลังยุคโควิคมีแนวโน้มจะยิ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เว้นแม้แต่ตลาดแรงงานในประเทศไทยที่ต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิตอล ดาต้า ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และ คลาวด์ จนมีการแย่งตัวระหว่างองค์กรต่างๆ กลายเป็น talent war ที่รุนแรง.
.
ในขณะที่เกิดการแข่งขันชิงตัวแรงงานที่มีทักษะสูง แรงงานที่มีทักษะปานกลางจนถึงต่ำจะมีความเสี่ยงจากที่ระบบอัตโนมัติเข้ามาทดแทนการทำงาน ซึ่งเราได้เริ่มเห็นกันในหลากหลายอุตสาหกรรมที่มีการนำ AI และระบบหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในการทำงานมากขึ้น. ทั้งนี้ PwC ได้ทำการสำรวจแนวโน้มแรงงานทั่วโลกใน 19 ประเทศ พบว่าวิกฤตโควิดนี้ ได้เร่งให้เกิดการพัฒนาทักษะทางด้านดิจิตอลมากขึ้น โดย 40% ของผู้ตอบแบบสำรวจมีการพัฒนาทักษะดิจิตอลของตนเองในช่วง Lockdown ทำให้เกิดการปรับรูปแบบการทำงานใหม่. อย่างไรก็ดี ความมั่งคงในหน้าที่การงานยังถือเป็นความกังวลอันดับต้นๆ ของแรงงาน โดย 60% ของผู้ตอบแบบสำรวจกังวลว่าระบบอัตโนมัติจะทำให้ตำแหน่งงานจำนวนมากอยู่ในความเสี่ยง โดย 48% เชื่อว่าการจ้างงานในรูปแบบเดิมจะหายไป.
.
ทั้งนี้ สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) คาดการณ์ค่าใช้จ่ายในการยกระดับทักษะแรงงานจำนวน 1.37 ล้านคนในสหรัฐ จะต้องใช้เงินสูงถึง 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 780,000 บาทต่อคน แต่ถึงแม้ค่าใช้จ่ายจะสูง แต่การเพิกเฉยก็จะยิ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับการพัฒนาแรงงานในอนาคตมากกว่า และเมื่อเราหันกลับมามองที่ประเทศไทยของเรา การยกระดับทักษะแรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันและแรงงานที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดในอนาคต จะเป็นภารกิจสำคัญที่ผู้นำภาครัฐและเอกชนต้องเร่งกันผลักดันเพื่อเตรียมพร้อมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตต่อไป.
.
🙏🙏
อ้างอิง: 'แนวโน้มองค์กรเปิดศึกชิง ทาเลนต์ ดิจิตัล' ภิรตา ภักดีสัตยพงศ์ กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น