#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
ได้มีปรากฏการณ์ในแวดวงการทำงานที่น่าสนใจเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ช่วงระยะเวลาที่โรคโควิด-19 มีการระบาดและหลายพื้นที่ได้เริ่มกลับมาฟื้นตัว โดยปรากฏกาณ์ดังกล่าวเรียกว่า "การลาออกครั้งมโหฬาร" หรือ "The Great Resignation". จากข้อมูลของ Gallup พบว่าร้อยละ 48 ของคนทำงานในสหรัฐกำลังอยู่ระหว่างการหางานใหม่ทำอยู่. ซึ่งนอกเหนือจากสหรัฐแล้ว ยังพบปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นกับประเทศอื่นๆ ที่ภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวเช่นกัน. ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้พนักงานอยากจะย้ายงานใหม่เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น พบว่ามีสาเหตุหลักมาจาก 2 ประการ ได้แก่
.
1.การค้นพบโลกของการทำงานแบบใหม่ - หรือ work from home/anywhere ซึ่งพบว่าการทำงานจากบ้านไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานลดลงจากเดิม (ในบางงาน) แถมทำให้ชีวิตมีความยืดหยุ่นและความสุขได้มากขึ้น สามารถสร้างความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว. ดังนั้น พนักงานจะรู้สึกว่าการกลับเข้าไปทำงานเต็มเวลาในออฟฟิตเหมือนอดีต จะทำให้สิ่งดีๆ หลายอย่างจากการทำงานที่บ้านหายไป ทำให้องค์กรที่บังคับให้พนักงานกลับเข้าออฟฟิต จะทำให้อัตราการลาออกมีแนวโน้มสูงขึ้น.
.
2.การปฏิบัติ (หรือไม่ปฏิบัติ) ขององค์กรต่อพนักงานในช่วงสถานการณ์โควิด - ช่วงวิกฤตเป็นโอกาสที่ดีที่พนักงานจะได้รับรู้ว่าเจ้านายและบริษัทมีความเอาใจใส่ในตัวพนักงานเพียงใด ซึ่งบริษัทที่ไม่ได้ดูแลเรื่องสุขภาพ ความเป็นอยู่ หรือคอยช่วยเหลือพนักงานที่ประสบปัญหา เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น พนักงานก็จะมองหาโอกาสที่จะย้ายบริษัทไปอยู่กับที่ที่ดูแลเอาใจใส่พนักงานแทน.
.
ดังนั้น ในช่วงโควิดและเมื่อโควิดเริ่มคลี่คลายนั้นจะเป็นช่วงที่พิสูจน์ที่ดีว่าบริษัทใส่ใจในพนักงานอย่างแท้จริงหรือไม่ การไม่ดูแลพนักงาน การบังคับให้เข้าออฟฟิตในช่วงการแพร่ระบาด รวมทั้งการเร่งรีบบังคับให้รีบกลับเข้าออฟฟิตเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น จะเป็นสิ่งกระตุ้นให้พนักงานอยากจะลาออกมากขึ้นภายหลังโควิด
.
อ้างอิง: 'เมื่อเศรษฐกิจฟื้น พนักงานจะลาออกกันมากขึ้น?' พสุ เดชะรินทร์ กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น