ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วัฒนธรรม กับ องค์กร (s.311)


.#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน


กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจถือเป็นเรื่องหนึ่งที่มีการพูดคุยกันอย่างมากในหมู่ผู้บริหารระดับสูง แต่อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร ไม่มักไม่ได้รับความสำคัญเท่ากับกลยุทธ์ คือ วัฒนธรรมและค่านิยมองค์กร ซึ่งหากสังเกตจะพบว่าผู้บริหารใช้เวลาไปกับกลยุทธ์ไปอย่างมาก ซึ่งมากกว่าเรื่องของวัฒนธรรมองค์กรอย่างชัดเจน

.

ผลสำรวจของ PwC พบว่า 67% ของผู้บริหารที่สำรวจต่างเห็นว่าวัฒนธรรมองค์กรมีความสำคัญต่อผลการดำเนินงานมากกว่ากลยุทธ์ โดยเฉพาะยิ่งในยุคโควิดที่พนักงานส่วนใหญ่ต้อง Work from Home นั้น เรื่องของวัฒนธรรมองค์กรยิ่งควรเป็นหนึ่งในเรื่องกังวลใจของผู้บริหาร. อย่างไรก็ดี สาเหตุสำคัญที่ทำให้เรื่องดังกล่าวไม่ได้รับความสนใจนัก คือ การที่เป็นสิ่งที่จับต้องลำบาก ไม่สามารถทำออกมาให้เป็นรูปธรรมเหมือนกลยุทธ์หรือแผนงานอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีมุมมองว่าการกำหนดวัฒนธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ก็ยังเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายกว่าการกำหนดแผนงานทั่วไป

.

นักวิจัยจาก MIT ในโครงการ Culture 500 ศึกษาและสำรวจวัฒนธรรมและค่านิยมที่ตีพิมพ์เผยแพร่ของบริษัทชั้นนำใน US และรวบรวมคุณลักษณะของวัฒนธรรม โดยมีคุณลักษณะของวัฒนธรรมที่โดดเด่นและพบเจอบ่อยที่สุดในองค์กรต่างๆ ออกมา 9 ประการ ได้แก่ (1) Agility ความยืดหยุ่นและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง  (2) Collaboration การทำงานร่วมกันเป็นทีมของพนักงานในหน่วยงานต่างๆ  (3) Customer การให้ความสำคัญและมุ่งเน้นไปที่ลูกค้า  (4) Diversity การให้ความสำคัญกับความแตกต่างและหลากหลายของบุคคล  (5) Execution การมุ่งเน้นไปที่การปฏิบัติ  (6) Innovation การมุ่งเน้นที่นวัตกรรม การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริการ เทคโนโลยี และวิธีการใหม่ๆ  (7) Integrity การปฏิบัติตัวอย่างซื่อสัตย์และมีจริยธรรม  (8) Performance การให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ในการดำเนินงาน และ (9) Respect การคำนึงถึงบุคคลอื่นและปฏิบัติต่อบุคคลอื่นด้วยดี

.

ทั้งนี้ องค์กรสามารถที่จะเลือกได้ว่าจะมุ่งเน้นและโดดเด่นในด้านใด และอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้บริหารองค์กรต่างๆ ได้พูดคุย อภิปรายเรื่องวัฒนธรรมของตนในยุคโควิดได้มากขึ้น

อ้างอิง: 'พูดคุยเรื่อง วัฒนธรรมองค์กร ในยุคโควิด' พสุ เดชะรินทร์ กรุงเทพธุรกิจ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...