#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
รายงานข้อมูลจาก World Bank เรื่อง Thailand Economics Monitors; the road to recovery ในส่วนที่วิเคราะห์นโยบายของรัฐบาลและการคาดการณ์จำนวนคนจนซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
.
1. โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อย ยิ่งคนที่มีรายได้น้อยจะยิ่งสูญเสียรายได้มาก - โดยโควิด-19 จะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อประชาชนในวงกว้างทุกสาขาอาชีพ ทุกพื้นที่และลงลึกไปถึงระดับบุคคล โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยซึ่งมีกำลังจ่ายได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของครัวเรือนทั่วไปอยู่ที่ 9 เดือน. อีกทั้งในแง่ของการสูญเสียรายได้ พบว่าคนที่มีรายได้น้อยจะยิ่งสูญเสียรายได้มาก.
.
2. ธนาคารโลกชี้รัฐบาลไทยใช้เงินอัดฉีดเพิ่มราว 2.5% ของ GDP ในปี 2563 และ 1.5% ในปี 2564 เพื่อสู้กับโควิด - ทั้งนี้รัฐบาลได้ดำเนินโครงการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยและประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบ เช่น เราไม่ทิ้งกัน เยียวยาเกษตรกร เยียวยากลุ่มเปราะบาง เป็นต้น. โดยในปี 2563 มีเม็ดเงินช่วยเหลือในโครงการต่างๆ สูงถึง 3.87 ลบ. คิดเป็น 2.5% ของ GDP และเมื่อรวมเม็ดเงินเหล่านี้กับงบประมาณด้านสังคมสงเคราะห์ปกติในแต่ละปีทำให้ปี 2563 มีการอัดฉีดเม็ดเงินถึง 3.2% และปี 2564 ถึง 2.3% ของ GDP
.
3. ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการดำเนินมาตรการ Cash Transfer ที่มีความครอบคลุมกลุ่มประชากรสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก - ธนาคารโลกทำการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบเรื่องความครอบคลุมของการดำเนินมาตรการให้เงินช่วยเหลือ พบว่าไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการดำเนินมาตรการ cash transfer ที่มีความครอบคลุมกลุ่มประชากรสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
.
4. การดำเนินมาตรการช่วยเหลือเยียวยาทำให้สัดส่วนคนจน (Proverty rate) ลดลงจาก 6.2% ในปีก่อนโควิด-19 มาอยู่ที่ 6.0% และ 5.6% ในปี 2563 และ 2564 ตามลำดับ - การดำเนินมาตรการช่วยเหลือเยียวยาต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ความยากจนในประเทศไทยลดลง โดยสะท้อนจากสัดส่วนคนจนที่ลดจาก 6.2% ในปี 2562 เป็น 6.0% และ 5.6% ในปี 2563 และ 2564 ตามลำดับ โดยดีกว่ากรณีหากรัฐบาลไม่ได้ออกมาตรการใดๆ ช่วยเหลือ
.
อ้างอิง: 'การดูแลคนจนช่วงโควิด-19 มุมมองธนาคารโลก' พงศ์นคร โภชากรณ์ กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น