#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
แผลเป็นทางเศรษฐกิจ หรือ economic scars เป็นคำในภาษาอังกฤษที่เราจะได้ยินบ่อยๆ ในช่วงเวลานี้ ซึ่งสื่อความหมายถึงบางสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตหรือวันนี้ที่มีลักษณะคล้ายแผลเป็นที่จะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะปานกลางและยาว. โดยแผลเป็นทางเศรษฐกิจนี้จะทำให้ศักยภาพในการผลิตของประเทศมีปัญหาหรือลดลงในอนาคต ซึ่งหมายถึงความสามารถในการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคตมีแนวโน้มลดลง
.
ทั้งนี้การขยายตัวของเศรษฐกิจถือเป็นเรื่องสำคัญ หากมีสิ่งใดไปกระทบจนเกิดเป็นปัญหาหรือทำให้มีศักยภาพลดลงในระยะกลางหรือยาว ความกินดีอยู่ดีของประชาชนหรือระดับรายได้เฉลี่ยต่อหัวในอนาคตก็จะขยับเพิ่มได้ช้าหรือเกิดมีขีดจำกัดขึ้น โดยตัวอย่างของ economic scars มีดังนี้
.
1) เศรษฐกิจหยุดชะงัก หากแรงงานไม่มีงานทำนานเกินไปก็จะเกิดแผลเป็นขึ้น กล่าวคือเมื่อกลับสู่ตลาดแรงงานอีกครั้งก็อาจปรับตัวไม่ทัน กระทบต่อศักยภาพการผลิตในอนาคตได้
2) หากไม่มีการลงทุนใหม่ในประเทศเป็นเวลานาน เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตที่มีก็จะมีอายุมากขึ้น เสื่อมประสิทธิภาพ จนทำให้กระทบต่อศักยภาพในนการผลิต
3) หากธุรกิจ SME จำนวนมากปิดตัวลง ทำให้แรงงานย้ายไปภาคอื่น และเมื่อเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวทำให้ SME ที่ปิดไป ไม่สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติจนกระทบต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคตได้
4) หากสุขภาพเฉลี่ยของประชาชนแย่ลงเช่น กินหวาน/เค็ม โรคอ้วน โรคไต เป็นต้น ก็จะทำให้ศักยภาพการผลิตของประเทศมีปัญหา
5) การเคยชินกับกิจการอื่นที่ไม่ใช่การผลิต ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มศักยภาพการผลิตได้
6) การเคยชินกับการอยู่ในระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมเป็นเวลานาน ทำให้เกิดแผลเป็นจนทำการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจภายใต้ระบบทุนนิยมที่หันมายึดถือใหม่เป็นไปอย่างเชื่องช้า
.
แผลเป็นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แต่สามารถแก้ไขได้ ตราบใดที่เราตระหนักว่ามีแผลเป็นและพยายามมุ่งมั่นแก้ไขโดยเร็ว ไม่ปล่อยไว้ให้เป็นอุปกสรรคต่อการขยายตัวของศักยภาพในการผลิตในอนาคต ต้องทำให้อดีตเป็นอดีต อย่าให้มันมีผลกระทบถึงอนาคตแบบถาวร
.
อ้างอิง: 'แผลเป็น ทางเศรษฐกิจ' วราภรณ์ สามโกเศศ กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น