ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สิ่งที่ธุรกิจไม่ควรทำ ในช่วงโควิด (s.308)

 


#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน

.

ในภาวะปัจจุบันที่สภาพการค้า เศรษฐกิจมีความซบเซาเป็นอย่างมาก เราจะได้เห็นผู้ประกอบการหลายรายได้นำกลยุทธ์ต่างๆ งัดมาใช้เพื่อสร้างรายได้ให้สามารถหล่อเลี้ยงธุรกิจต่อไปได้ อย่างไรก็ดี มีกับดักใหญ่ 3 ประการที่ผู้ประกอบการต้องระวังและไม่ควรทำโดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซานี้ ได้แก่

.

1. อย่าพยายามมุ่งแข่งขันตัดราคา - ซึ่งในช่วงที่ธุรกิจดูเหมือนเจอทางตัน ทางออกที่ผู้ประกอบการมักนำมาใช้คือการแข่งขันเรื่องราคา ซึ่งถือเป็นอาวุธทางการตลาดที่รุนแรง แต่ในช่วงวิกฤตเช่นนี้ ผู้ประกอบการไม่ควรมุ่งแต่เรื่องราคาแม้คู่แข่งของเราจะตัดราคามากแค่ไหนก็ตาม ทั้งนี้ เราไม่ควรมองที่ราคาเพียงอย่างเดียวแล้วใช้การตัดราคาเพื่อสู้กับคู่แข่ง. โดยส่วนผสมทางการตลาดยังมีเรื่องอื่นๆ ที่กิจการสามารถนำมาปรับใช้ได้ เช่น 7P สำหรับการตลาดในธุรกิจบริการ

.

2. อย่าเอาเงินก่อน ผ่อนบริการทีหลัง เสี่ยงเสียลูกค้า - หลายธุรกิจเริ่มใช้วิธีที่เรียกว่า postpone เช่น การเสนอขายคอร์สการเรียน เสริมความงาม หรือบัตรกำนัล ในมูลค่าที่จูงใจลูกค้าให้จ่ายเงินล่วงหน้าแล้วมาใช้บริการในภายหลัง. ซึ่งในตอนที่เราต้องการเงินเข้ามาหมุนในธุรกิจ เราก็มักจะใช้วิธีการนี้เรียกเงินลูกค้ามาก่อน แต่เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย พอลูกค้าเข้ามาใช้บริการ ผู้ประกอบการจำนวนมากจะไม่ค่อยรู้สึกอยากให้บริการ เพราะลูกค้าได้ซื้อล่วงหน้าในราคาที่ถูก. ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ธุรกิจต้องระวังให้ดี เพราะถ้าหากผู้ประกอบการทำใจไม่ได้เมื่อลูกค้าที่ซื้อล่วงหน้าในราคาที่ถูกได้มาใช้บริการ ผู้ประกอบการก็ควรหลีกเลี่ยงจะดีกว่า

.

3. อย่าละเมิดกฎหมาย - จากมาตรการต่างๆ ที่รัฐได้กำหนด ซึ่งหากฝ่าฝืน นอกจากโทษการละเมิดทางกฎหมายแล้ว กิจการยังเสียชื่อเสียงอีกด้วย ส่วนมากธุรกิจที่ละเมิดกฎหมายมักจะโดยจับได้ และทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงอย่างที่ได้ไม่คุ้มเสีย. โดยที่ส่วนมากแล้วคนที่แจ้งตำรวจมักไม่ใช่ลูกค้าของเรา แต่เป็นคู่แข่งของเรา

.

ทั้งนี้ แม้การดำเนินการธุรกิจในช่วงของโรคระบาดโควิด-19 จะยากลำบาก แต่ผู้ประกอบการก็ไม่ควรพาธุรกิจลงไปในหลุมพรางที่ได้กล่าวข้างต้น หรือหากผู้ประกอบการรายใดได้ถลำตัวลงไปแล้ว ก็ควรรีบเปลี่ยนแปลงและกลับขึ้นมาให้เร็วที่สุด.

 . 

อ้างอิง: '3P อย่าทำ พาธุรกิจรอดโควิดระลอก 4' เอกก์ ภทรธนกุล กรุงเทพธุรกิจ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...