#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
แนวคิดเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน หรือ Sharing Economy มีแนวคิดสำคัญ คือ การทำธุรกิจแบบ Peer-to-Peer (P2P) ซึ่งเป็นการจับคู่กันระหว่างผู้ให้บริการ (Service Provider) ที่มีทรัพยากรหรือทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้งานหรือมากเกินความจำเป็น กับผู้บริโภคที่ต้องการใช้สินค้าหรือบริการนั้นๆ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคแทนการซื้อสินค้าหรือบริการนั้นมาเป็นของตนเอง.
.
ทั้งนี้คนรุ่นใหม่อย่างกลุ่ม Gen Z หรือกลุ่ม Millennials คือกลุ่มคนที่เป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตของโมเดลธุรกิจแบบนี้ ซึ่งเป็นผลจากความคุ้นเคยในเรื่องเทคโนโลยี รวมทั้งแรงจูงใจเรื่อง Circular Economy และการเติบโตอย่างยั่งยืน รวมถึงการตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาวะโลกร้อนมากกว่าคนรุ่นก่อน ซึ่งตัวอย่างของโมเดลธุรกิจในลักษณะนี้ เช่น Uber, Grab, Airbnb, Co-Working space เป็นต้น. โดย PWC คาดการณ์ว่ามูลค่าธุรกิจ Sharing Economy ทั่วโลกจะเติบโตไปอยู่ที่ 335,000 ล้าน USD ในปี 2025 จากปัจจุบันที่อยู่ที่ประมาณ 20,000 ล้าน USD.
.
พิจารณาในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มพบว่า เริ่มมีการนำแนวคิดเรื่อง Sharing Economy มาปรับใช้แล้ว ซึ่งตัวอย่างที่ค่อนข้างชัดเจนและเริ่มแพร่หลายมากขึ้นทั้งในไทยและต่างประเทศ ได้แก่ Shared Kitchen หรือครัวกลาง. โดยความจริงแล้ว แนวคิดเรื่อง Sharing Economy ในธุรกิจ Food Service ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เกิดขึ้นในต่างประเทศมาหลายปีแล้วและมีหลากหลายรูปแบบ เช่น แอปพลิเคชั่นที่ช่วยจัดการห่วงโซ่อาหารตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ หรือ แอปพลิเคชั่นที่ช่วยลดขยะอาหารที่เกิดขึ้นในครัวเรือน เป็นต้น.
.
โดยถึงแม้โมเดล Food Sharing ที่ครบวงจรจะยังไม่เกิดในประเทศไทย แต่เชื่อได้ว่าน่าจะเป็น the next frontier สำหรับแนวคิดเศรษฐกิจแบบแบ่งปันในธุรกิจอาหารที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะตอบโจทย์แนวคิดรักษ์โลกแล้ว ยังเป็นโมเดลธุรกิจในยุคเศรษฐกิจแบบแบ่งปันที่ดีต่อทั้งผู้ให้และผู้รับอีกด้วย
อ้างอิง: 'Sharing Economy … เทรนด์แบ่งปันในธุรกิจอาหารที่กำลังมาแรงและน่าจับตามอง' EIC SCB
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น