#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
การเปลี่ยนแปลงธุรกิจเข้าสู่ยุคดิจิทัลในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ทำให้ดิจิทัลได้กลายเป็นสัดส่วนที่สำคัญสำหรับการคำนวณ GDP ของประเทศต่างๆ โดยมีความเชื่อว่าดิจิทัลเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อทำให้ GDP ของประเทศมีมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้น
.
อย่างไรก็ดี จากการที่ความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูลของภาครัฐมีมากขึ้น และปรากฏข้อเท็จจริงที่ว่า ในหลายภาคส่วนของอุตสาหกรรมดิจิทัล GDP กลับมีแนวโน้มเป็นตัวเลขติดลบ ซึ่งมีสาเหตุจากการที่สินค้าและบริการในภาคส่วนเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างผลลบต่อ GDP หรือเรียกได้ว่าเป็นการขาดดุลทางการค้า. ทั้งนี้ สำหรับข้อมูลที่มีการเปิดเผยโดยทั่วไปมักสะท้อนมุมมองของอุตสาหกรรมดิจิทัลในอีกด้านหนึ่ง ซึ่งบอกถึงจำนวนผู้ใช้และมูลค่าของการใช้งานที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยหากดูผิวเผินอาจทำให้เชื่อว่าอุตสาหกรรมดิจิทัลของไทยนั้นมีความแข็งแกร่ง แต่ข้อมูลที่เริ่มมีการเปิดเผยพบว่า มูลค่าของการใช้งานส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งส่งผลลบต่อ GDP
.
ทั้งนี้ ข้อจำกัดของประเทศไทยยังมีอยู่มากเมื่อเทียบกับประเทศที่มีความพร้อมกว่า เช่น ความพร้อมของบุคลากรด้านดิจิทัล ความพร้อมของระบบนิเวศด้านดิจิทัล ความพร้อมของนวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาและการสร้างสิ่งใหม่ภายในประเทศ และความพร้อมของกฎระเบียบ โดยประเทศไทยอาจได้มีการเริ่มต้นช้ากว่าประเทศอื่นมาก และกำลังถูกแซงหน้าโดยประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ฟิลิปปินส์ และเวียดนามในหลากหลายตัวชี้วัด ซึ่งประเทศหล่านี้ได้ซุ่มพัฒนาศักยภาพทางด้านดิจิทัลมานานก่อนเรา
.
อาจเป็นเวลาที่เหมาะสมที่ประเทศไทยต้องกำหนดเป้าหมายของอุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อจะได้มีจุดยืนที่ชัดเจนในขณะที่การใช้งานสินค้าและบริการกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดและส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อที่จะได้ชัดเจนในตัวเราเองว่า เราอยากจะเพิ่มการบริโภคภายในประเทศ หรือเปลี่ยนประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าและบริการดิจิทัลหรือไม่ หรือ เราพอในในปัจจุบันแล้ว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น