#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
ความจน เป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย โดยความยากจนมีแนวโน้มที่จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในระยะต่อไปหากไม่ได้รับการแก้ไขที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะความยากจนของแรงงานภาคเกษตรซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 ของกำลังแรงงานรวมในปี 2563. โดยกำลังแรงงานในกลุ่มนี้มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องสวนทางกับอายุเฉลี่ยของแรงงาน ส่งผลให้ผลิตภาพแรงงานต่ำ ดังรายงานจากธนาคารโลกระบุว่า ปัจจัยที่มีผลให้ความยากจนเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2558-2560 ได้แก่ ค่าแรง รายได้จากการเกษตร และเงินส่งกลับครัวเรือน.
.
การค้นหาโมเดลแก้ไข จึงเป็นหนทางหนึ่งในความพยายามสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งโครงการบวร (บ้าน-วัด-โรงเรียน) ถึงเป็นหนึ่งในโครงการที่น่าสนใจที่นำมาใช้เป็นโมเดลในการแก้จน ซึ่งดำเนินการโดย
.
บ้าน หรือตัวเกษตรกรเอง - การแก้จนจะเกิดขึ้นไม่ได้หากตัวคนนั้นไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ความสำเร็จของโครงการบวร จะเริ่มจากการปรับกระบวนทัศน์ของเกษตรกรให้เปลี่ยนไปสู่การทำเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งภาครัฐเองก็ต้องปรับบทบาทและรูปแบบในการส่งเสริมเกษตรกร
วัด - สถาบันทางศาสนาถือเป็นการใช้จุดแข็งด้านสังคมและวัฒนธรรมของไทย สำหรับคนไทยแล้ว วัดเป็นแหล่งที่พึ่งพิงจากจิตใจและเป็นสถานที่พบปะกันของคนในชุมชนท้องถิ่น กรณีนี้วัดจะช่วยให้มีการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและการร่วมกลุ่มที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น ตลอดจนการให้คำแนะนำและส่งเสริมการปรับแนวคิดการทำเกษตรกรรมในชุมชน
โรงเรียน - โรงเรียนสร้างยุวเกษตรกร โดยจัดชั่วโมงเรียนให้เกิดการฝึกฝนการทำการเกษตรและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรตามความสมัครใจของผู้เรียน ซึ่งเป็นการปลูกฝังค่านิยมในการสืบทอดการทำเกษตรแบบผสมผสาน
.
ทั้งนี้ สังคมและกลไกของประเทศที่ดีจะช่วยสนับสนุนให้คนหลุดพ้นจากความจน โมเดลการแก้จนจึงเป็นเรื่องที่ต้องร่วมกันค้นหา ทดลอง หาทางออก เป็นหนทางในการแก้จน โดยคนจนไม่จำเป็นต้องเป็นคนจนตลอดไป อย่าให้ความจนที่ติดตัวบางคนมาต้องส่งต่อไปยังลูกหลานโดยเฉพาะภาคเกษตรที่อยู่คู่กับประเทศไทย
.
อ้างอิง: 'โมเดลแก้จน จน แต่ไม่ตลอดไป' ประกาย ธีระวัฒนากุล และ ดวงกมล แก่นสาร, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น